Web Blog การเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ (สาระเพิ่ม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ส 22102 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส 23102 ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา ในการฝึกทักษะเรียนรู้พื้นฐาน การจัดการความรู้ ทักษะภาษาดิจิตอล ทักษะการรู้คิดประดิษฐ์สร้าง ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารที่มีประสิทธิผล ทักษะการสืบค้น ฯลฯ เพื่อพัฒนาไปสู่ทักษะความรู้ที่มุ่งหวังของหลักสูตร โรงเรียนมาตรฐานสากล 6 ประการ ประกอบด้วย (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills (2) ทักษะการคิด Thinking Skills (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills (4) ทักษะชีวิต Life Skills (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skills ทฤษฎีระบบการเรียน KM (Knowlead Maneagement) โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ คุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา(Word Class Standard)

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สงครามโลกครั้งที่ 1

สงครามโลกครั้งที่ 1


แผนที่สงครามโลครั้งที่ 1แสดงการรบในยุโรปและตะวันออกกลาง
สงครามโลกครั้งที่ 1

            เริ่มใน ค.ศ. 1914 สิ้นสุดใน ค.ศ.1918 เป็นความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจ 2 ค่าย คือ ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย – ฮังการี และอิตาลี (ผู้นำสำคัญ คือบิสมาร์ค แห่งเยอรมนี) กับฝ่าย ประกอบด้วย Triple Entente ได้แก่ บริเตนใหญ่ ( อังกฤษ ) ฝรั่งเศส และรัสเซีย การรบเริ่มขึ้นหลังการลอบสังหารมกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย – ฮังการี และสิ้นสุดลงด้วยความพ่ายแพ้ของมหาอำนาจกลาง หรือ Triple Alliance มีการทำสนธิสัญญาแวร์ซายส์ บังคับให้เยอรมนีและพันธมิตรเสียค่าปฏิกรรมสงครามชดใช้จำนวนมหาศาลและเสียดินแดนที่เป็นอาณานิคมให้แก่ฝ่าย Triple Entente

สาเหตุสงครามโลกครั้งที่ 1 


ลัทธิชาตินิยม

การเกิดลัทธิชาตินิยมจากคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ทำให้เกิดระบบรวมรัฐชาติ สร้างระบบรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง รัฐชาติในประเทศยุโรปต่างแสวงหาความเป็นมหาอำนาจ ทั้งทางทหารและเศรษฐกิจ รัฐชาติหมายถึง รัฐหรือประเทศที่ประชาชนมีความรู้สึกผูกพันกัน มีความสามัคคี ภาคภูมิใจในความเป็นชาติ จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ความรักชาติที่รุนแรงจนเป็นลัทธิชาตินิยม ทำให้เชื่อว่าชาติตนเหนือกว่าชาติอื่น ผลักดันชาติของตนได้เปรียบชาติอื่นไม่ว่าด้านเศรษฐกิจ หรือการทหาร นำไปสู่การแข่งขันอำนาจกัน จนกลายเป็นสงคราม เช่น สงครามการรวมอิตาลี การรวมเยอรมนี จนถึงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง 

ลัทธิจักรวรรดินิยม 

ลัทธิชาตินิยมนำไปสู่ลัทธิจักรวรรดินิยม ลัทธิจักรวรรดินิยม หมายถึงประเทศที่พัฒนา แล้วประสบความสำเร็จด้านเศรษฐกิจ การทหาร และวิทยาศาสตร์ เข้าครอบครอง ที่ด้อยพัฒนากว่า ลัทธิจักรวรรดินิยมเริ่มจากปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้ต้องการวัตถุดิบและตลาด มหาอำนาจยุโรป เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส ปรัสเซีย ( เยอรมนี) เนเธอร์แลนด์ ต่างแข่งขันกันขยายอำนาจในการครอบครองดินแดนในทวีปเอเชียอเมริกากลางและอัฟริกาโดยครอบงำทาวัฒนธรรม และวิถีชีวิต เป็นแหล่งเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ให้เมืองแม่ 

การแบ่งกลุ่มพันธมิตรยุโรป 

นโยบายการรวมกลุ่มที่มีผลประโยชน์ตรงกัน เริ่มต้นใน ค.ศ. 1907 เมื่อ เยอรมัน และออสเตรีย-ฮังการีลงนามในสนธิสัญญาพันธมิตรไตรมิตร (Triple Alliance )ประจันหน้ากับรุสเซีย เนื่องจากเยอรมนี ต้องการไม่ให้รัสเซียเป็นใหญ่ในชนเผ่าสลาฟแหลมสมุทรบอลข่าน ต่อมามีอิตาลีมาร่วมประเทศ เพราะไม่พอใจฝรั่งเศสที่แย่งครอบครองตูนิเซีย ในฐานะรัฐในอารักขา ฝ่ายออสเตรีย – ฮังการีซึ่งต้องการเป็นใหญ่ในแหลมบอลข่านเช่นกัน โดยได้รับการสนับสนุนจากเยอรมนี อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซียลงนามในสนธิสัญญาสันธไมตรีไตรมิตร (Triple Entente ) ค.ศ. 1907และเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นด้วย 

ความขัดแย้งเรื่องแหลมบอลข่าน 

สาเหตุสำคัญเกิดจากการที่ออสเตรีย – ฮังการีขัดแย้งกับเซอร์เบีย เรื่องการสร้างเขตอิทธิพลในแหลมบอลข่าน เยอรมนีสนับสนุนออสเตรีย – ฮังการี ขณะที่รัสเซียสนับสนุนเซอร์เบีย ความขัดแย้งขยายความรุนแรงเป็นสงครามระหว่างรัฐในแหลมบอลข่าน มหาอำนาจจึงมีโอกาสแทรกแซงและตั้งกลุ่มพันธมิตร 

จุดระเบิดของสงครามโลกครั้งที่ 1 มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการีคือ อาร์ค ฟรานซิส เฟอร์ดินานด์ กับพระชายาโซเฟีย ถูกลอบปลงพระชนม์ในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ.1914ที่เมืองซาราเจโว ขณะเสด็จเยือนเมืองหลวงของบอสเนีย โดยคนร้ายชื่อ กาฟริโล ปรินซิพ นักศึกษาชาวบอสเนียสัญชาติเซอร์เบีย ออสเตรียเรียกร้องให้เซอร์เบียปฏิบัติตามข้อเรียกร้อง เซอร์เบียปฏิเสธออสเตรีย-ฮังการีจึงประกาศสงครามกับเซอร์เบีย 28 กรกฎาคม 1914 รัสเซียแสดงตนว่าเป็นผู้พิทักษ์เผ่าสลาฟจึงระดมพล เยอรมนีประกาศสงครามกับฝรั่งเศสและรัสเซีย ต่อมาอังกฤษเข้าสู่สงครามเมื่อเยอรมนีบุกเบลเยียม และญี่ปุ่นได้ประกาศสงครามต่อเยอรมนี เพราะมุ่งหวังในอาณานิคมของเยอรมนีในจีน 

ผลของสงครามโลกครั้งที่ 1 

            1. การสถาปนาองค์การสันนิบาตชาติ แต่มีจุดอ่อนในการรักษาสันติภาพ เพราะรัสเซีย ถอนตัวและสหรัฐอเมริกาไม่เข้าเป็นสมาชิก ทั้งยังไม่มีกองทหารรักษาสันติภาพด้วย 

            2. เกิดสนธิสัญญาสันติภาพที่ประเทศผู้ชนะร่างขึ้นมี 5 ฉบับ 

- สนธิสัญญาแวร์ซายส์ทำกับเยอรมนี เยอรมนีต้องเสียค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมหาศาลและเสียดินแดนหลายแห่ง ทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจทั่วโลก ราคาสินค้าตกต่ำ ในเยอรมนีไม่สามารถใช้หนี้สงครามได้และมองสนธิสัญญานี้ว่าไม่เป็นธรรม จนฮิตเลอร์นำมาประณามเมื่อเริ่มมีอำนาจ 

- สนธิสัญญาแซงต์ แยร์แมงทำกับออสเตรีย 
- สนธิสัญญาเนยยี ทำกับบัลแกเรีย 
- สนธิสัญญาตริอานองทำกับฮังการี 
- สนธิสัญญาแซฟส์ทำกับตุรกี ต่อมาเกิดการปฏิวัติในตุรกีจึงมีการทำสนธิสัญญาใหม่เรียกว่าสนธิสัญญาโลซานน์ 

            3. ความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น และความยากจนต่อเนื่องจากก่อนสงคราม นำไปสู่การที่เลนิน ปฏิวัติเปลี่ยนประเทศรัสเซียเป็นคอมมิวนิสต์ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 1 

            4. ในยุโรปมีรูปแบบของรัฐเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้แก่รัสเซีย เลนินปฏิวัตินำระบบคอมมิวนิสต์มาปกครองรัสเซียใน ค.ศ. 1917 และในค.ศ. 1924 -1953 สตาลินได้ใช้ระบบเผด็จการที่เน้นการปราบศัตรูทางการเมืองและการผูกขาดอำนาจด้วยความรุนแรงมากขึ้น ส่วนในเยอรมนี ฮิตเลอร์ได้เป็นผู้นำ ใช้ระบบเผด็จการโดยอำนาจพรรคนาซี ตั้งแต่ ค.ศ.1933 และในอิตาลี มุสโสลินีได้ตั้งพรรคฟาสซิสต์ขึ้นในเวลาต่อมา 

            5. เกิดประเทศใหม่ 7 ประเทศเนื่องมาจากการแยกดินแดนได้แก่ ฮังการี ยูโกสลาเวีย โปแลนด์ เชคโกสโลวาเกีย ลิทัวเนีย แลตเวีย แอสโตเนีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น