Web Blog การเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ (สาระเพิ่ม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ส 22102 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส 23102 ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา ในการฝึกทักษะเรียนรู้พื้นฐาน การจัดการความรู้ ทักษะภาษาดิจิตอล ทักษะการรู้คิดประดิษฐ์สร้าง ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารที่มีประสิทธิผล ทักษะการสืบค้น ฯลฯ เพื่อพัฒนาไปสู่ทักษะความรู้ที่มุ่งหวังของหลักสูตร โรงเรียนมาตรฐานสากล 6 ประการ ประกอบด้วย (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills (2) ทักษะการคิด Thinking Skills (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills (4) ทักษะชีวิต Life Skills (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skills ทฤษฎีระบบการเรียน KM (Knowlead Maneagement) โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ คุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา(Word Class Standard)

วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

สังคมและวัฒนธรรมสมัยกรุงธนบุรี

สังคมและวัฒนธรรมสมัยกรุงธนบุรี

การเมืองการปกครองสมัยกรุงธนบุรี
กรุงธนบุรี
อาณาจักรธนบุรี เป็นอาณาจักรของคนไทยในช่วงเวลาสั้น ๆ ระหว่าง พ.ศ. 2310 – 2325 มีพระมหากษัตริย์ปกครองเพียงพระองค์เดียว คือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ภายหลังจากที่อาณาจักรอยุธยาล่มสลายไปพร้อมกับการปล้นกรุงศรีอยุธยาของกองทัพพม่า ทว่า ในเวลาต่อมา สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ และทรงย้ายเมืองหลวงไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน
13
การปกครองในสมัยกรุงธนบุรียังคงมีรูปแบบเหมือนกับสมัยอยุธยาตอนปลาย พอสรุปได้ดังนี้
การปกครองส่วนกลาง หรือ การปกครองในราชธานีมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดเปรียบเสมือนสมมุติเทพ มีเจ้าฟ้าอินทรพิทักษ์ดำรงดำแหน่งพระมหาอุปราช มีตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหารหรือสมุหพระกลาโหม มียศเป็นเจ้าพระยามหาเสนา และอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือนหรือสมุหนายก(มหาไทย) มียศเป็นเจ้าพระยาจักรี เป็นหัวหน้าบังคับบัญชาเสนาบดีจตุสดมภ์ 4 กรมได้แก่
1. กรมเมือง (นครบาล)         มีพระยายมราชเป็นผู้บังคับบัญชา ทำหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองภายในเขตราชธานี การบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎรและการปราบโจรผู้ร้าย
2. กรมวัง (ธรรมาธิกรณ์)       มีพระยาธรรมาเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจการภายในราชสำนักและพิพากษาอรรถคดี
3. กรมพระคลัง (โกษาธิบดี)  มีพระยาโกษาธดีเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับจ่ายเงินของแผ่นดิน และติดต่อ ทำการค้ากับต่างประเทศ
4. กรมนา (เกษตราธิการ)      มีพระยาพลเทพเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับเรือกสวนไร่นาและเสบียงอาหารตลอดจน ดูแลที่นาหลวง เก็บภาษีค่านา เก็บข้าวขึ้นฉางหลวงและพิจารณาคดีความเกี่ยวกับเรื่องโค กระบือ และที่นา การปกครองส่วนภูมิภาค หรือ การปกครองหัวเมือง การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็น หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก หัวเมืองประเทศราช
หัวเมืองชั้นใน จัดเป็นเมืองระดับชั้นจัตวา มีขุนนางชั้นผู้น้อยเป็นผู้ดูแลเมือง ไม่มีเจ้าเมือง ผู้ปกครองเมืองเรียกว่า ผู้รั้ง หรือ จ่าเมือง อำนาจในการปกครองขึ้นอยู่กับเสนาบดีจัตุสดมภ์ หัวเมืองชั้นในสมัยกรุงธนบุรี ได้แก่ พระประแดง นนทบุรี สามโคก(ปทุมธานี)
16
หัวเมืองชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานคร เป็นเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานีออกไป กำหนดฐานะเป็นเมืองระดับชั้น เอก โท ตรี จัตวา ตามลำดับ หัวเมืองฝ่ายเหนือขึ้นอยู่กับอัครมหาเสนาบดีฝ่ายสมุหนายก ส่วนหัวเมืองฝ่ายใต้และหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก ขึ้นอยู่กับกรมท่า(กรมพระคลัง) ถ้าเป็นเมืองชั้นเอก พระมหากษัตริย์ จะส่งขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ออกไปเป็นเจ้าเมือง ทำหน้าที่ดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ
15
หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นเอก ได้แก่ พิษณุโลก จันทบูรณ์
หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นโท   ได้แก่ สวรรคโลก ระยอง เพชรบูรณ์
หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นตรี   ได้แก่ พิจิตร นครสวรรค์
หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นจัตวาได้แก่ ไชยบาดาล ชลบุรี
1
หัวเมืองประเทศราช
เป็นเมืองต่างชาติต่างภาษาที่อยู่ห่างไกลออกไปติดชายแดนประเทศอื่น มีกษัตริย์ปกครอง แต่ต้องได้รับการแต่งตั้งจากกรุงธนบุรี ประเทศเหล่านั้น ประมุขของแต่ละประเทศจัดการปกครองกันเอง แต่ต้องส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการมาให้ตามที่กำหนด
หัวเมืองประเทศราช ในสมัยกรุงธนบุรี ได้แก่ เชียงใหม่ (ล้านนาไทย) ลาว (หลวงพระบาง,เวียงจันทน์, จำปาศักดิ์) กัมพูุชา (เขมร) และนครศรีธรรมราช
เศรษฐกิจสมัยกรุงธนบุรี
การเสียกรุงครั้งที่ 2ก่อให้เกิดความเสียหายย่อยยับแก่เศรษฐกิจไทย นอกเหนือจากชาวไทยต้องบาดเจ็บล้มตายในสงครามกับพม่าหลายหมื่นคนแล้ว ผู้รอดชีวิตจำนวนมากต้องอพยพหนีตายในสภาพอดอยากยากแค้น บางส่วนอพยพหนีเข้าป่า บางส่วนซัดเซพเนจรหาที่พักพิงใหม่ เมื่ออดอยากหนักเข้าจึงใช้วิธีปล้นสะดมฆ่าฟันกันเพื่อความอยู่รอด บ้างก็ล้มตายเพราะขาดอาหาร หรือไม่ก็ตายเพราะโรคระบาด พลเมืองบางส่วนก็หนีไปพึ่งพระบารมีพระเจ้ากรุงธนบุรี
หลังจากที่พระเจ้าตากสินได้ทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้วได้ดำเนินวิธีการฟื้นฟูด้านเศรษฐกิจดังนี้
1. ทรงสละพระราชทรัพย์ซื้อข้าวสารจากต่างชาติที่นำมาขาย แล้วนำไปแจกจ่ายให้กับราษฎรเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
2. ทรงเร่งรัดการทำนา เพื่อให้มีข้าวบริโภคเพียงพอ โดยการสนับสนุนให้ข้าราชการทำนาปรัง
3. ทรงส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ เพื่อนำรายได้มาใช้เกี่ยวกับการทำสงครามและบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม รายได้เกี่ยวกับการค้ากับต่างประเทศ ได้แก่ การเก็บภาษีเบิกร่องหรือค่าปากเรือ ภาษีขาเข้า – ภาษีขาออก
4. ทรงดำเนินนโยบายประหยัด โดยการใช้ของที่เป็นเครื่องอุปโภค บริโภค ให้คุ้มค่ามากที่สุด
แม้ว่าพระเจ้าตากสินจะพยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ แก้ไขปัญหาความอดอยากของประชาชน แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จนัก เป็นเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้
1.มีสงครามตลอดรัชกาล ทำให้ราษฎรไม่มีเวลาทำมาหากิน
2.เกิดภัยธรรมชาติ เช่น พ.ศ.2311 – พ.ศ.2312 ฝนแล้งติดต่อกัน ทำนาไม่ได้ผล ที่พอทำได้บ้างก็ถูกหนูกัดกินข้าวในนาและยุ้งฉาง รวมทั้งทรัพย์สินสิ่งของทั้งปวงเสียหาย จึงมีรับสั่งให้ราษฎรดักหนูนามาส่งกรมพระนครบาล ทำให้เหตุการณ์สงบลงไปได้
3.ผู้คนแยกย้ายกระจัดกระจายกัน ยังไม่มารวมกันเป็นปึกแผ่น
4.พ่อค้าชาติต่างๆยังไม่กล้ามาลงทุน เพราะสภาพการณ์บ้านเมืองไม่น่าวางใจนัก  อีกประการหนึ่งเกรงจะถูกยึดทรัพย์สินเป็นของหลวง  การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจไม่ค่อยได้ผลนัก ทั้งนี้เพราะต้องทำควบคู่ไปกับการทำสงครามด้วย แม้กระนั้นพระเจ้าตากสินก็พยายามส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ โดยส่งเสริมการต่อเรือพาณิชย์ อันเป็นผลให้มีหนทางเก็บภาษีเข้าท้องพระคลัง เรือค้าขายจากเมืองจีนมาติดต่อบ่อยครั้ง ใน พ.ศ.2324 คณะทูตจากกรุงธนบุรีเดินทางไปเมืองกวางตุ้ง นำพระราชสาสน์ไปเจริญทางพระราชไมตรีและได้เจรจาเรื่องการค้าด้วย
4
การปรับปรุงฟื้นฟูประเทศด้านการศึกษาและศาสนาสมัยกรุงธนบุรี
การศึกษาสมัยกรุงธนบุรีมีศูนย์กลางอยู่ที่วัดกับวัง โดยวัดจะเป็นสถานศึกษาสำหรับราษฎรทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเด็กผู้ชายเพราะต้องไปศึกษาและพักอยู่กับพระที่วัด วิชาที่เรียนได้แก่ การอ่าน เขียนภาษาไทย ภาษาบาลี – สันสกฤต และวิชาเลข ซึ่งสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ส่วนวังเป็นสถานศึกษาสำหรับบุตรของพระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางผู้ใหญ่ วิชาที่เรียนส่วนใหญ่เน้นเรื่องการปกครอง วิชาการป้องกันตัว เพื่อเตรียมรับราชการต่อไปในอนาคต ส่วนวิชาชีพนั้นจะเป็นการศึกษากับพ่อแม่ คือ พ่อแม่ประกอบอาชีพอะไร ก็มักจะถ่ายทอดให้ลูกหลานทำต่อ เช่นวิชาแพทย์แผนโบราณ หรือวิชาช่างต่างๆ ส่วนเด็กผู้หญิงจะเรียนเพื่อเตรียมตัวเป็นแม่บ้านแม่เรือนในอนาคต ดังนั้นการเรียนของเด็กผู้หญิงจะเรียนอยู่กับบ้าน มีแม่เป็นผู้สอน วิชาที่เรียน เช่น การเย็บปักถักร้อย ทำกับข้าว การฝึกอบรมมารยาทของสตรี โดยพ่อแม่ไม่นิยมให้ผู้หญิงเรียนหนังสือ
17
การปรับปรุงฟื้นฟูประเทศด้านศาสนาสมัยกรุงธนบุรี
พระพุทธศาสนาตกต่ำมากในช่วงการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เมื่อพระเจ้าตากสินขึ้นครองราชย์พระองค์ทรงตั้งพระทัยจะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาอย่างแน่วแน่ พระราชภารกิจทางด้านศาสนา ได้แก่
1. นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ที่อยู่ตามที่ต่างๆให้มาประชุมกันที่วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆษิตาราม) แต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดประดู่ขึ้นเป็นพระสังฆราช และตั้งพระราชาคณะให้ปกครองพระอารามต่างๆในเขตกรุงธนบุรี
2. ในคราวเสด็จไปปราบชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช พระองค์เสด็จบำเพ็ญพระราชกุศลที่พระอารามวัดพระศรีมหาธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช และให้เชิญพระไตรปิฎกขึ้นมายังกรุงธนบุรี เพื่อคัดลอกจารไว้ทุกหมวด แล้วเชิญกลับไปนครศรีธรรมราชตามเดิม
3. เมื่อเสด็จหัวเมืองเหนือ พระเจ้าตากสินก็ทรงแต่งตั้งพระราชาคณะตามหัวเมืองต่างๆ และโปรดให้รวบรวมพระไตรปิฎกทางหัวเมืองเหนือมาสอบชำระที่กรุงธนบุรี แล้วให้ส่งกลับไปใช้เป็นฉบับหลวง
4 .ทรงอุปถัมภ์พระภิกษุ สามเณร ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทางศาสนาเป็นประจำ
5. ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามหลายแห่ง เช่น วัดบางยี่เรือใต้ (วัดอินทาราม)อันเป็นพระอารามหลวง และประดิษฐานพระอัฐิสมเด็จพระพันปีหลวงกรมพระเทพามาตย์   นอกจากนี้เมื่อครั้งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เป็นแม่ทัพไปตีเมืองเวียงจันทร์ใน พ.ศ.2321 ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานไว้ในกรุงธนบุรีด้วย
18
สภาพสังคมไทยสมัยกรุงธนบุรี
สภาพสังคมไทยสมัยกรุงธนบุรี มีลักษณะคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา คือมีการแบ่งชนชั้นออกเป็น
1. พระมหากษัตริย์ เป็นชนชั้นสูงสุดในสังคม
2. พระบรมวงศานุวงศ์
3. ขุนนางข้าราชการ
4. ไพร่ เป็นชนชั้นที่มีมากที่สุดในสังคม
5. ทาส เป็นชนชั้นต่ำสุดในสังคม ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายเงินมาก
สังคมไทยสมัยกรุงธนบุรีถูกควบคุมอย่างเข้มงวดมาก ด้วยเป็นเวลาที่บ้านเมืองอยู่ในระหว่างอันตรายเพิ่งกอบกู้เอกราชคืนมาได้ ทั้งประสบความเสียหายอย่างใหญ่หลวง  ผู้คนหลบหนีเข้าป่าอย่างมากมาย ถูกกวาดต้อนไปพม่าก็มีมาก นอกนั้นต่างก็พยายามเอาตัวรอดโดยการตั้งเป็นก๊ก เป็นเหล่า ครั้นกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมาได้ก็ยังต้องระมัดระวังภัยจากพม่าที่จะมาโจมตีอีก การควบคุมกำลังคนจึงมีความสำคัญมาก เพราะถ้ามีผู้คนน้อย  ก็จะทำให้พ่ายแพ้แก่ข้าศึกศัตรูได้ ผู้คนในกรุงธนบุรีถูกควบคุมโดยการสักเลก  ผู้ที่ถูกสักเลกทั้งหลายเรียกกันว่าไพร่หลวง ซึ่งมีหน้าที่รับราชการปีละ 6 เดือน โดยมาทำราชการหนึ่งเดือน และหยุดพักผ่อนไปทำมาหากินหนึ่งเดือนสลับกันไป ซึ่งสมัยก่อนเรียกว่าเข้าเดือนออกเดือน มีไพร่หลวงอีกพวกหนึ่งเรียกว่าไพร่ส่วย คือเป็นไพร่ที่ส่งส่วยเป็นสิ่งของหรือเงินแทนการรับใช้แรงงานแก่ทางราชการ ส่วนไพร่สมเป็นไพร่ที่สังกัดมูลนายรับใช้แต่เจ้านายของตนเอง เพราะพวกนี้ถูกแยกเป็นอีกพวกหนึ่งเด็ดขาดไปเลย แต่บางครั้งไพร่สมก็ถูกแปลงมาเป็นไพร่หลวงได้เหมือนกัน การสักเลกก็เพื่อเป็นการลงทะเบียนชายฉกรรจ์เป็นไพร่หลวงเพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงและหลบหนี
ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยธนบุรี
19
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยธนบุรี
กรุงธนบุรีมีอายุเพียง  15  ปีแต่ก็ได้สร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่มีคุณค่าอันสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน  โดยเกิดจากปัจจัยสำคัญ  คือ
  1.  การรับอิทธิพลด้านภูมิปัญญาและวัฒนธรรมสืบทอดมาจากอยุธยา  เช่น  ด้านศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ
  2.  การรับอิทธิพลจากอารยธรรมตะวันตก  มีผลต่อภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยธนบุรี
น้อยมาก  ถึงแม้จะมีการเผยแผ่คริสต์ศาสนา  แต่สิ่งที่สำคัญมากคือ  ความต้องการอาวุธปืนที่ใช้ในการป้องกันประเทศ  ดังปรากฏหลักฐานที่บริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา  ได้ถวายปืน  50  กระบอก    เพื่อแลกกับไม้ฝางของไทย
ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยในการพิจารณาทำเลที่ตั้งของราชธานี
อยู่ริมแม่น้ำและอยู่ใกล้ทะเล  การที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเลือกชัยภูมิให้เมืองธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ของไทยเพื่อป้องกันมิให้พม่าโจมตีได้  เพราะแถบนี้น้ำลึก  ถ้าข้าศึกยกทัพมาทางบกไม่มีทัพเรือเป็นกำลังด้วยแล้วยากที่จะเข้ามาตีกรุงธนบุรีได้  ประกอบกับธนบุรีมีป้อมปราการมาตั้งแต่สมัยอยุธยา  เป็นเมืองขนาดย่อม  ทัพบกและทัพเรือของธนบุรี
ย่อมสามารถรักษาราชธานีไว้ได้  แต่ถ้ารักษาไม่ได้  ก็สามารถยกทัพกลับไปตั้งมั่นอยู่ที่เมืองจันทบุรีดังเดิม  นอกจากนี้การที่กรุงธนบุรีตั้งปิดปากน้ำย่อมป้องกันมิให้หัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวงที่ไม่ได้อยู่ใต้อำนาจของธนบุรีสามารถไปมาค้าขายหรือแสวงหาอาวุธจากต่างประเทศได้ยากขึ้น  ขณะที่ทางธนบุรี
9
ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยในการปรับตัวเพื่อแก้ปัญหาการดำรงชีวิต
สมัยธนบุรีได้ประสบกับภาวะสงครามและการขาดแคลนข้าว    ทำให้เป็นปัญหาของสังคมไทยในขณะนั้น  จึงมีภูมิปัญญาเกี่ยวกับการแก้ปัญหาการดำรงชีวิต  เช่น
1. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงแก้ปัญหาด้วยการโปรดให้ผู้คนที่อดอยากเข้ามารับพระราชทานข้าวปลาอาหาร  ขณะนั้นข้าวสารที่พ่อค้าสำเภาจีนนำมาขายมีราคาแพงมากแต่พระองค์ก็ซื้อข้าวสารแจกจ่ายราษฎรข้าวมาขายเพื่อหวังผลกำไรเป็นจำนวนมาก  เมื่อข้าวสารในท้องตลาดมีมากจึงส่งผลให้มีข้าวสารมีราคาถูกลง
2. พระองค์ทรงให้บรรดาข้าราชการทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อยหันไปทำนาเพิ่มปีละ  2  ครั้ง  ทั้งนาปีและนาปรัง  ทำให้มีข้าวบริโภคมากขึ้น  ครั้นเมื่อเกิดหนูชุกชุมกัดกินข้าวในยุ้งฉางและทรัพย์สินของราษฎรเสียหายก็ทรงรับสั่งให้จับหนูมาส่งกรมนครบาล  ทำให้จำนวนหนูลดลง ภูมิปัญญานี้ส่งผลถึงปัจจุบันทำให้ประเทศไทยติดอันดับในการส่งออกข้าวไปขายยังต่างประเทศ
3.ให้ขุดคูเมืองทั้งสองฟากซึ่งเดิมเป็นสวนปลูกผักผลไม้ให้ขุดออกเป็นที่ท้องนา  เรียกว่าทะเลตม  เพื่อไว้ทำนาใกล้พระนคร  สำหรับเป็นเสบียงในยามขาดแคลนข้าว   แต่เมื่อข้าศึกยกมาก็สามารถทำเป็นที่ตั้งค่ายไว้ต่อสู่กับข้าศึกได้สะดวกต่อการค้าขายทางทะเลกับต่างประเทศ และสามารถแสวงหาอาวุธได้ง่ายเพราะอยู่ติดทะเล
5ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยด้านศิลปกรรม
เนื่องจากสมัยธนบุรีเป็นราชธานีในระยะเวลาสั้น ๆ  และต้องตกอยู่ในภาวะสงครามตลอดเวลาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมด้านศิลปกรรมจึงมีอยู่บ้าง  เช่น เรือ  การต่อเรือเจริญมากเพราะมีการต่อเรือรบ เรือสำเภา ตลอดจนเรือกระบวนไว้ใช้ในราชการเป็นจำนวนมาก สถาปัตยกรรม  กรุงธนบุรีเป็นยุคของการสร้างบ้านแปลงเมือง  จึงมีการก่อสร้างเป็นจำนวนมาก  อาทิ  พระราชวัง ป้อมปราการ กำแพงพระนคร พระอารามต่าง ๆ  ลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยนี้ล้วนสืบทอดมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย  ฐานอาคารจะมีลักษณะอ่อนโค้งดุจรูปเรือสำเภา  ทรงอาคารจะสอบชะลู
ดขึ้นทางเบื้องบน  ส่วนประกอบอื่น ๆ ของอาคารก็ไม่แตกต่างจากอยุธยามากนัก  เป็นที่น่าเสียดายว่าสถาปัตยกรรมสมัยธนบุรีมักได้รับการบรูณะซ่อมแซมในสมัยหลังหลายครั้งด้วยกัน  ลักษณะในปัจจุบัน จึงเป็นแบบสถาปัตยกรรมในรัชกาลที่บูรณะครั้งหลังสุด  เท่าที่ยังปรากฏเค้าเดิมในปัจจุบัน ได้แก่ ป้อมวิชัยประสิทธิ์ กำแพงพระราชวังเดิม พระตำหนักท้องพระโรง และพระตำหนักเก๋งคู่ในพระราชวังเดิมที่ได้รับอิทธิพลการก่อสร้างมาจากจีน  พระอารามทั้งในพระนครและหัวเมืองที่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ ในรัชกาลนี้ล้วนแต่ได้รับการบรูณะใหม่ในรัชกาลต่อมาเช่นกัน  ที่ยังแสดงลักษณะศิลปกรรมสมัยกรุงธนบุรี  ได้แก่  พระอุโบสถและพระวิหารน้อย วัดอรุณราชวราราม  พระอุโบสถและพระวิหารเดิมวัดราชคฤห์ พระอุโบสถเดิมวัดอินทาราม  ตำหนักแดง วัดระฆังโฆสิตาราม  และพระอุโบสถวัดหงส์รัตนาราม ประณีตศิลป  กรุงธนบุรีมีนายช่างผู้เชี่ยวชาญด้านนี้อย่างพร้อมมูล ทั้งช่างรัก ช่างประดับ ช่างแกะสลัก ช่างปั้นและช่างเขียน  งานประณีตศิลป์ชิ้นสำคัญสมัยนี้ ได้แก่ ตู้พระไตรปิฎกลายรดน้ำ 4 ตู้ ในหอวชิรญาณ  ซึ่งได้มาจากวัดราชบูรณะ วัดจันทาราม และวัดระฆังโฆสิตาราม  ช่างหล่อคนสำคัญปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า  โปรดให้หลวงวิจิตรนฤมล  ปั้นพระพุทธรูปให้ต้องตามพุทธลักษณะที่โปรดให้สอบสวน  แล้วหล่อพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ยืนองค์หนึ่งปางสมาธิองค์หนึ่ง  งานแกะสลัก  ได้แก่พระแท่นบรรทมในพระอุโบสถน้อย วัดอรุณราชวราราม  ในพระวิหารวัดอินทาราม  และตั่งจากอำเภอแกลง จังหวัดระยอง  ซึ่งเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ จิตรกรรม  ภาพจิตรกรรมสมัยธนบุรีอาจดูได้จาก ตำราภาพไตรภูมิ (ฉบับหลวง)  มีการวาดภาพเกี่ยวกับไตรภูมิหรือโลกทั้งสาม  เพื่อปลูกฝังให้คนไทยเกิดความเชื่อในเรื่องบาปบุญคุณโทษ  ประพฤติกรรมดี ละเว้นความชั่ว  ซึ่งเก็บรักษาอยู่ ณ หอสมุดแห่งชาติ  และลวดลายรดน้ำที่ปรากฏบนตู้พระไตรปิฎกและภาพจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์19
วรรณกรรม
วรรณกรรมสำคัญที่เกิดในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี มีดังนี้
1. บทละครเรื่องรามเกียรติ์  พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี
20
2. ลิลิตเพชรมงกุฎ  ประพันธ์โดยหลวงสรวิชิต (หน)
21
3. อิเหนาคำฉันท์  ประพันธ์โดยหลวงสรวิชิต (หน)
22
4. กฤษณาสอนน้องคำฉันท์  ประพันธ์โดยพระยาราชสุภาวดี  และพระภิกษุอินท์
23
5. โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี  ประพันธ์โดย  นายสวนมหาดเล็ก
24
6. นิราศกวางตุ้ง หรือนิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีนครั้งกรุงธนบุรี พ.ศ. 2324  บทประพันธ์ของพระยามหานุภาพ  เป็นวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้นาฏดุริยางค์และการละเล่น  แม้ว่าศิลปกรรมเหล่านี้จะได้รับความกระทบกระเทือนจากภัยสงคราม  โดยถูกพม่ากวาดต้อนไปบ้าง  แต่ก็ยังไม่สูญหายไปเสียทีเดียว  ยังคงหลงเหลืออยู่ตามหัวเมืองสำคัญ เช่น เมืองนครศรีธรรมราช  และหลบซ่อนตัวตามเมืองอื่นบ้าง  นอกจากในพระราชสำนักแล้ว  สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี  ได้พระราชทานโอกาสให้บุคคลทั่วไปมีครูฝึกสอนละครนาฏศิลป์  และจัดแสดงได้โดยไม่จำกัด   ทั้งนี้เพื่อบำรุงขวัญประชาชนซึ่งเพิ่งรวบรวมตัวกันเป็นปึกแผ่นใหม่ ๆ  นาฏศิลป์และการละเล่นสมัยกรุงธนบุรีที่ปรากฏหลักฐานในจดหมายเหตุ  สมโภชพระแก้วมรกต พ.ศ. 2323  คือ โขน หนัง หุ่น ละคร รำ (รำหญิง,รามัญรำ,ชวารำ,ญวนรำถือโคมดอกบัว) มโหรี ปี่พาทย์ ระเม็งโมงครุ่ม ญวนหกและคนต่อเท้า โจนหกร้านหอก หกไม้ลำเดียว หกไม้สูง 3 ต่อ ไต่ลวดลังกาไม้ลวดต่ำ คุลาเล็ก มังกรตรีวิสัย(แทงวิสัย) โตกระบือหรือโตกระบือจีนเงาะ มวย คู่ปล้ำ เสลหรือดาบดั้ง คู่ง้าว คู่ทวน คู่หอก คู่กฤช ชนช้าง แข่งม้า ทวนหลังม้า กระบี่หลังม้าและม้าคลุมม้าคลี  และยังโปรดให้เจ้านครศรีธรรมราชจัดละครมาร่วมงานเป็นการประกวดประชันกับของหลวงด้วย
25
1. สภาพสังคม
ชีวิตความเป็นอยู่ถือได้ว่ามีการควบคุมกันอย่างเข้มงวดเพราะบ้านเมืองตกอยู่ในสภาวะสงคราม ต้องสู้รบกับพม่าข้าศึกอยู่ตลอดเวลานอกจากนี้ยังมีการเกณฑ์พลเรือนเข้ารับราชการทั้งนี้เพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงและหลบหนีการเกณฑ์แรงาน
26
2. การฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม
รัชสมัยของพระเจ้าตากแม้จะไม่ยาวนานนักแต่ก็ยังได้ฟื้นฟูปรับปรุงบ้านเมืองในด้านวัฒนธรรมอันมากที่สำคัญมีดังนี้
2.1 ด้านศาสนา พระเจ้าตากทรงมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระศาสนาอย่างมั่นคงทรงให้มีการชำระความบริสุทธิ์ของสงฆ์ทั้งหมดรูปใดที่ประพฤติไม่ดีให้ศึกออกไปพระองค์ทรงบริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์ในการสร้างอุโบสถ และทรงคัดลอกพระไตรปิฎกที่นำมาจากวัดพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราชเมื่อปี 2312
27
2.2 ด้านศิลปวัฒนธรรม พระเจ้าตากทรงมีภารกิจมากมายโดยเฉพาะการสร้างบ้านเมืองการป้องกันประเทศ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ จึงทำให้ผลงานในด้านนี้จึงไม่เด่นชัด สาเหตุอีกประการหนึ่งก็คือ บรรดาช่างฝีมือและช่างศิลป์ถูกพม่ากวาดต้อนไปเป็นจำนวนมาก ช่างที่มีอยู่ก็เป็นช่างฝึกหัดไม่อาจเทียบเท่าช่างในอยุธยาได้ ผลงานที่มีคือ วัดแจ้ง (วัดอรุณราชวรราม) และด้านก่อสร้างได้แก่ การสร้างพระราชวังป้อมปราการ เชิงเทิน ขาดความสวยงาม ส่วนทางด้าน วรรณกรรมมีผลงานสำคัญคือ รามเกียรติ์ เป็นต้น
28
2.3 ด้านนาฏศิลป์ มีการฟื้นฟูและเล่นฉลองในงานพิธีสำคัญตามแบบประเพณีสมัยอยุธยาดังเห็นได้จากพิธีสมโภชพระแก้วมรกตและพระบางซึ่งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้อันเชิญมาจากเวียงจันทร์เพื่อประดิษฐานที่กรุงธนบุรีซึ่งในครั้นนั้นมีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ใช้เวลา 7 วันมีการประชันการแสดงละคร การแสดงโขน การเล่นมโหรีพิณพาทย์ การเล่นบทดอกสร้อยสัดวาฯ
29
2.4 ด้านการศึกษา ในสมัยธนบุรียังคงอยู่ที่วัดเหมือนเมื่อสมัยอยุธยานั้นคือการเรียนที่วัดมีพระสอนหนังสือและยังคงใช้แบบเรียนจินดามณีซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องวิธีแต่งกาพย์กลอน ศึกษาศัพท์เขมร บาลีสันสฤตด้วยเพื่อประโยชน์ในการอ่านคัมภีร์พระพุทธศาสนา นอกนั้นก็เป็นวิชาเลขซึ่งนำใช้ในชีวิตประจำวัน สำหรับวิชาชีพพ่อแม่มีอาชีพอะไรก็ถ่ายทอดวิชานั้นให้แก่ลูกหลาน เช่น วิชาแพทย์โบราณ วิชาช่างปั้น ช่างถม ช่างแกะสลัก ช่างปั้นปูน ช่างเหล็กฯ ส่วนเด็กหญิงถือตามประเพณีโบราณคือ การเย็บปักถักร้อย ทำกับข้าว และการฝึกอบรมมารยาทของกุลสตรี สมัยนั้นไม่นิยมให้ผู้หญิงเรียนหนังสือจึงมีน้อยคนนักที่อ่านออกเขียนได้
30
การเมืองการปกครองและพัฒนาการด้านต่าง ๆ สมัยกรุงธนบุรี
ก่อนกรุงศรีอยุธยาแตกใน พ.ศ. ๒๓๑๐ สมเด็จพระเจ้าตาก (สิน) ซึ่งขณะนั้นยังเป็นพระยาวชิรปราการตีฝ่าวงล้อมพม่าเดินมุ่งหน้าไปทางหัวเมืองชายทะเลตะวันออก และได้รวมผู้คนที่อยู่ในบริเวณนี้ตั้งเป็นชุมนุมโดยยึดเมืองจันทบุรีเป็นฐานทัพ ให้ต่อเรือเตรียมไว้ จนกระทั่งเมื่อสิ้นฤดูมรสุม สมเด็จพระเจ้าตา (สิน) จึงเข้าโจมตีค่ายพม่าที่ธนบุรีและค่ายโพธิ์สามต้นที่อยุธยา และสามารถยึดค่ายนี้ได้ในวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๑๐ การที่สมเด็จพระเจ้าตากสินสามารถยึดธนบุรี และกรุงศรีอยุธยา คืนจากพม่าได้ ทำให้พระองค์มีความชอบธรรมในการสถาปนาพระองค์เองเป็นพระมหากษัตริย์ จึงได้ทรงสถาปนาธนบุรีขึ้นเป็นราชธานีในปีเดียวกัน
การสถาปนาธนบุรีเป็นราชธานี
เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสามารถกู้เอกสารของชาติได้แล้ว ปัญหาสำคัญของไทยในขณะนั้นคือ การป้องกันตนเองให้พ้นจากการโจมตีโดยพม่า และหาอาหารให้พอเลี้ยงผู้คนที่มีชีวิตรอดจากสงคราม แต่สภาพอยุธยาอยุธยาขณะนั้นไม่อาจบูรณะฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็วด้วยกำลังคนเพียงเล็กน้อย อีกทั้งพม่าได้รู้ลู่ทางและจุดอ่อนของอยุธยาเป็นอย่างดีแล้ว ดังนั้นพระองค์จำเป็นที่จะต้องหาชัยภูมิที่เหมาะ ในการสถาปนาราชธานีแห่งใหม่คือ กรุงที่ได้รับพระราชทานนามว่า “กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร” กรุงธนบุรีตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองบางกอกเดิมซึ่งในสมัยอยุธยา เมืองบางกอกมีฐานะเป็น “เมืองท่าหน้าด่าน” คือ เป็นที่จอดเรือสินค้า และเป็นเมืองหน้าด่านทำหน้าที่ป้องกันข้าศึกษาที่ยกทัพเข้ามาทางปากน้ำเจ้าพระยารวมทั้งตรวจตราเก็บภาษีเรือและสินค้าที่ขึ้นล่องตามลำน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง บางกอกจึงมีป้อมปราการ และ มีด่านภาษีเป็นด่านใหญ่ที่เรียกว่า ขนอนบางกอก เมืองบางกอกจึงมีชุมชนชาวต่างชาติ เช่น ชุมชนชาว จีน อินเดียมุสลิม ที่เดินทางมาติดต่อค้าขายและเป็นทางผ่านของนักเดินทาง เช่น นักการทูต พ่อค้า นักการทหาร และนักบวชที่เผยแผ่ศาสนา รวมทั้งนักเผชิญโชคที่ต้องการเดินทางไปยังอยุธยา
ดังนั้นโดยพื้นฐานที่ตั้งของธนบุรีจึงอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์ของปากน้ำเจ้าพระยาและเป็นเมืองที่มีความสมบูรณ์ทางเศรษฐกิจมาก่อนตลอดจนเป็นเมืองที่มีความปลอดภัย เพราะมีทั้งป้องปราการและแม่น้ำลำคลองที่ป้องกันไม่ให้ข้าศึกษาโจมตีได้โดยง่าย เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสถาปนาธนบุรีเป็นราชธานี พระองค์โปรดเกล้าให้สร้างพระราชวังเป็นที่ประทับ โดยสร้างพระราชวังชิดกับกำแพงเมืองทางใต้ มีอาณาเขตตั้งแต่ป้องวิชัยประสิทธิ์และวัดท้ายตลาดมาจนถึงวัดแจ้ง วัดทั้งสองจึงเป็นวัดในเขตพระราชฐาน สำหรับวัดแจ้งนั้นมีฐานะเป็นพระอารามหลวง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แผนภูมิแสดงการทำสงคราม สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงฟื้นฟูบ้านเมืองให้มีความเป็นปึกแผ่น โดยชักชวนให้ผู้คนที่หลบหนีสงครามกระจัดกระจายไปอยู่ตามที่ต่าง ๆ ให้กลับมาตั้งบ้านเรืองใหม่ พร้อมทั้งฟื้นฟูระบบระเบียบในการบริหารราชการแผ่นดินตามแบบสมัยอยุธยา
การปกครองหัวเมืองในสมัยธนบุรี
ยศของผู้ปกครองเมือง
– การปกครองหัวเมืองชั้นใน
– การปกครองหัวเมืองชั้นนอก
– การปกครองเมืองประเทศราช
ผู้รั้งเมือง
เจ้าพระยา
ผู้ครองนคร
31
พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ
ในตอนต้นสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ภาวะทางเศรษฐกิจของไทยอยู่ในสภาพลำบาก เนื่องจากเกิดการขาดแคลนอาหารอย่างหนักทั้งนี้เพราะราษฎรมิได้ทำนาในระหว่างการศึกสงครามแม้ว่าภายหลังจากที่พระองค์กู้เอกราชได้แล้ว การทำนาก็ยังไม่ได้ผล เพราะฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ในการขจัดปัญหาเรื่องการขาดแคลนอาหารนั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า คือ ทรงรับซื้อข้าวจากพ่อค้าจากเรือสำเภา
พัฒนาการด้านความสัมพันธ์กับต่างชาติ
ขณะที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นผู้นำ คนไทยร่วมแรงร่วมใจสร้างความเป็นเอกภาพให้กับบ้านเมืองอยู่นั้น คนไทยยังมีความกังวลที่จะรักษาชาติบ้านเมืองให้อยู่รอดปลอดภัย ดังนั้นความสัมพันธ์กับต่างชาติสมัยธนบุรี จึงมีลักษณะการทำสงครามตลอดสมัย ทั้งสงครามป้องกันอาณาจักรและขยายอาณาเขต ตลอดจนความสัมพันธ์ทางด
สังคมสมัยธนบุรีคล้ายกับสังคมอยุธยา คือ โครงสร้างทางสังคมประกอบด้วยกลุ่มคน คือ
กลุ่มชนชั้นผู้ปกครอง ได้แก่ พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ และขุนนาง
กลุ่มชนชั้นที่ถูกปกครอง ได้แก่ ไพร่ ทาส
กลุ่มชนชั้นพิเศษ ได้แก่ นักบวช เช่น พระสงฆ์ และพราหมณ์
32

เศรษฐกิจสมัยกรุงธนบุรี


เศรษฐกิจสมัยกรุงธนบุรี(2311-2319)
imagesKrungThonburi
Nu6

        ในตอนต้นสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ภาวะทางเศรษฐกิจของไทยอยู่ในสภาพลำบาก เนื่องจากเกิดการขาดแคลนอาหารอย่างหนักทั้งนี้เพราะราษฎรมิได้ทำนาในระหว่างการศึกสงครามแม้ว่าภายหลังจากที่พระองค์กู้เอกราชได้แล้ว การทำนาก็ยังไม่ได้ผล เพราะฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ในการขจัดปัญหาเรื่องการขาดแคลนอาหารนั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า คือ ทรงรับซื้อข้าวจากพ่อค้าจากเรือสำเภา
พัฒนาการด้านความสัมพันธ์กับต่างชาติ
ขณะที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นผู้นำ คนไทยร่วมแรงร่วมใจสร้างความเป็นเอกภาพให้กับบ้านเมืองอยู่นั้น คนไทยยังมีความกังวลที่จะรักษาชาติบ้านเมืองให้อยู่รอดปลอดภัย ดังนั้นความสัมพันธ์กับต่างชาติสมัยธนบุรี จึงมีลักษณะการทำสงครามตลอดสมัย ทั้งสงครามป้องกันอาณาจักรและขยายอาณาเขต ตลอดจนความสัมพันธ์ทางการค้า  สังคมสมัยธนบุรีคล้ายกับสังคมอยุธยา คือ โครงสร้างทางสังคมประกอบด้วยกลุ่มคน เช่น  กลุ่มชนชั้นผู้ปกครอง ได้แก่ พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ และขุนนางกลุ่มชนชั้นที่ถูกปกครอง ได้แก่ ไพร่ ทาสกลุ่มชนชั้นพิเศษ ได้แก่ นักบวช เช่น พระสงฆ์ และพราหมณ์  (เศรษฐกิจสมัยธนบุรี :ออนไลน์)

***เศรษฐกิจ ผลจากการเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าในวันที่7 เมษายน พ.ศ.2310 ปรากฏว่าบ้านเมืองมีสภาพคล้ายเมืองร้าง บ้านเรือน ไร่นาถูกทอดทิ้ง ราษฏรจำนวนน้อยที่รอดจากความตายและการกวาดต้อนของพม่า ผู้คนอยูในสภาพอดอยากทั่วไปการกินอยู่ในสภาพแร้นแค้น ขาดทั้งอาหารและเครื่องนุ่งห่มสิ่งเหล่านี้ เป็นปัญหาเร่งด่วนที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชต้องทรงแก้ไขและส่งเสริมภาวะเศรษฐกิจพร้อมกันไป
ภาวะเศรษฐกิจตอนต้นราชการ ขณะที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงขึ้นครองราชย์สมบัติ บ้านเมืองกำลังประสบความตกต่ำทางเศรษฐกิจอย่างที่สุด ขาดแคลนข้าวปลาอาหารเกิดความอดอยากยากแค้น จึงมีการปล้นสะดมแย่งชิงอาหารอยู่ทั่วไป การทำไร่ทำนาต้องหยุดชะงักโดยสิ้นเชิง ในช่วงปี พ.ศ. 2311-2319 ข้าวปลาอาหารฝืดเคืองมากและยังเกิดภัยธรรมชาติซ้ำเติมทำให้ภาวะทางเศรษฐกิจที่เลวร้ายอยู่แล้วกลับทรุดหนักลงไปอีก เพราะปี พ.ศ. 2311 ปรากฏว่าข้าวในยุ้งฉาง และทรัพย์สินต่างๆ มีหนูพากันมากัดกอน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงรับสั่งให้ข้าราชการทหารและพลเมืองทั้งหลายจับหนูมาส่งกรมพระนครบาลทุกวันปัญหาหนูจึงสงบ ความขาดแคลนในระยะนั้นได้ทวีความรุนแรงถึงกับมีผู้คนล้มตายไปเป็นจำนวนมาก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงแก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วยกุศโลบายอันหยาบคายทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว
ทางด้านการค้ากับต่างประเทศนั้นกรุงธนบุรีอยู่ในทำเลที่เหมาะสมสามารถเป็นเมืองท่าติดกับต่างประเทศได้สะดวก เพราะการเป็นเมืองท่าของกรุงธนบุรีนี้มีความสำคัญต่อการตั้งตัวใหม่มาก เพราะจำเป็นต้องพึ่งพาเสบียงอาหารจากภายนอก ซึ่งปรากฏว่าการค้าทำให้เศรษฐกิจของกรุงธนบุรีดีขึ้นมาก ช่วยแก้ไขปัญหาข้าวยากหมากแพงได้หลายครั้ง  (วิมล จิโรจพันธุ์ ; ประชิด สกุณะพัฒน์ และ อุดม เชยกีวงศ์.  2548: 236 ,255)

พัฒนาการทางด้านการเมืองการปกครองสมัยธนบุรี

พัฒนาการทางด้านการเมืองการปกครองสมัยธนบุรี

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การเมืองการปกครองสมัยธนบุรี

สมัยกรุงธนบุรี.
การปกครองในสมัยกรุงธนบุรียังคงมีรูปแบบเหมือนกับสมัยอยุธยาตอนปลาย พอสรุปได้ดังนี้
การปกครองส่วนกลาง หรือ การปกครองในราชธานี พระมหากษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดเปรียบเสมือนสมมุติเทพ มีเจ้าฟ้าอินทรพิทักษ์ดำรงดำแหน่งพระมหาอุปราช มีตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหารหรือสมุหพระกลาโหม มียศเป็นเจ้าพระยามหาเสนา และอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือนหรือสมุหนายก(มหาไทย) มียศเป็นเจ้าพระยาจักรี เป็นหัวหน้าบังคับบัญชาเสนาบดีจตุสดมภ์ 4 กรมได้แก่
1. กรมเมือง (นครบาล) มีพระยายมราชเป็นผู้บังคับบัญชา ทำหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองภายในเขตราชธานี การบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎรและการปราบโจรผู้ร้าย
2. กรมวัง (ธรรมาธิกรณ์) มีพระยาธรรมาเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจการภายในราชสำนักและพิพากษาอรรถคดี
3. กรมพระคลัง (โกษาธิบดี) มีพระยาโกษาธดีเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับจ่ายเงินของแผ่นดิน และติดต่อ ทำการค้ากับต่างประเทศ
4. กรมนา (เกษตราธิการ) มีพระยาพลเทพเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับเรือกสวนไร่นาและเสบียงอาหารตลอดจน ดูแลที่นาหลวง เก็บภาษีค่านา เก็บข้าวขึ้นฉางหลวงและพิจารณาคดีความเกี่ยวกับเรื่องโค กระบือ และที่นา
การปกครองส่วนภูมิภาค หรือ การปกครองหัวเมือง

การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็น หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก หัวเมืองประเทศราช

หัวเมืองชั้นใน จัดเป็นเมืองระดับชั้นจัตวา มีขุนนางชั้นผู้น้อยเป็นผู้ดูแลเมือง ไม่มีเจ้าเมือง ผู้ปกครองเมืองเรียกว่า ผู้รั้ง หรือ จ่าเมือง อำนาจในการปกครองขึ้นอยู่กับเสนาบดีจัตุสดมภ์ หัวเมืองชั้นในสมัยกรุงธนบุรี ได้แก่ พระประแดง นนทบุรี สามโคก(ปทุมธานี)
หัวเมืองชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานคร เป็นเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานีออกไป กำหนดฐานะเป็นเมืองระดับชั้น เอก โท ตรี จัตวา ตามลำดับ หัวเมืองฝ่ายเหนือขึ้นอยู่กับอัครมหาเสนาบดีฝ่ายสมุหนายก ส่วนหัวเมืองฝ่ายใต้และหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก ขึ้นอยู่กับกรมท่า(กรมพระคลัง) ถ้าเป็นเมืองชั้นเอก พระมหากษัตริย์ จะส่งขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ออกไปเป็นเจ้าเมือง ทำหน้าที่ดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ

หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นเอก ได้แก่ พิษณุโลก จันทบูรณ์
หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นโท ได้แก่ สวรรคโลก ระยอง เพชรบูรณ์
หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นตรี ได้แก่ พิจิตร นครสวรรค์
หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นจัตวาได้แก่ ไชยบาดาล ชลบุรี

หัวเมืองประเทศราช

เป็นเมืองต่างชาติต่างภาษาที่อยู่ห่างไกลออกไปติดชายแดนประเทศอื่น มีกษัตริย์ปกครอง แต่ต้องได้รับการแต่งตั้งจากกรุงธนบุรี ประเทศเหล่านั้น ประมุขของแต่ละประเทศจัดการปกครองกันเอง แต่ต้องส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการมาให้ตามที่กำหนด
หัวเมืองประเทศราช ในสมัยกรุงธนบุรี ได้แก่ เชียงใหม่ (ล้านนาไทย) ลาว (หลวงพระบาง,เวียงจันทน์, จำปาศักดิ์) กัมพูุชา (เขมร) และนครศรีธรรมร

ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงธนบุรี.
 
สภาพทั่วไปก่อนการก่อตั้งกรุงธนบุรี

              กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทยอยู่ 417 ปี (พ.ศ.1893-2310) ในระยะเวลาอันยาวนานนี้กรุงศรีอยุธยาได้ก้าวจากการเป็นอาณาจักรเล็กๆ มาเป็นอาณาจักรใหญ่ที่มีความเจริญรุ่งเรืองในด้านการปกครอง เศรษฐกิจ ตลอดจนศาสนา วัฒนธรรม ศิลปกรรมต่างๆ ความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรอยุธยาเริ่มเสื่อมลงตามลำดับตั้งแต่ต้นราชวงศ์บ้านพลูหลวง เกิดการแย่งชิงราชสมบัติกันขึ้นระหว่างพระราชวงศ์และขุนนาง เจ้านายและขุนนางชั้นผู้ใหญ่แตกความสามัคคีแย่งชิงอำนาจกันเอง ทำให้กำลังทหารแยกออกเป็นกลุ่มๆ ยิ่งบ้านเมืองว่างศึกสงครามกับประเทศเพื่อนบ้านมาเป็นเวลานาน กองทัพก็ไม่ได้เตรียมพร้อมที่จะสู้รบ พระมหากษัตริย์เองโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระเจ้าเอกทัศ ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา ก็ไม่ทรงพระปรีชาสามารถในการบริหารราชการแผ่นดิน ในขณะที่ศัตรูของไทยคือ พม่ามีกำลังและอำนาจมากขึ้นภายใต้พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์อลองพญา
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2310 ได้เกิดมีการกบฏขึ้นในหัวเมืองมอญ พม่าได้ยกกองทัพเข้าตีหัวเมืองมอญที่เมืองมะริดและตะนาวศรี แล้วเคลื่อนทัพเข้ามาในดินแดนไทยทางด่านสิงขรโดยปราศจาการต่อต้านจากฝ่ายไทย จนสามารถเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาได้ ถ้าจะวิเคราะห์สงครามครั้งนี้แล้ว จะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์ของพม่าแต่เดิมนั้น เพียงเพื่อต้องการปราบปรามพวกกบฏชาวมอญ ซึ่งหนีมาอยู่ที่เมืองมะริด และตะนาวศรีเท่านั้น ยังมิได้ตั้งใจจะเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา แต่เมื่อพม่าสามารถตีเมืองมะริดและตะนาวศรีได้อย่างง่ายดาย โดยฝ่ายไทยมิได้เตรียมการต่อสู้แต่อย่างใดแสดงถึงความอ่อนแอของไทย พม่าจึงตีหัวเมืองไทยต่อเข้ามาเรื่อย ๆ จนถึงราชธานี
ในการรับศึกพม่าครั้งนี้ พระเจ้าเอกทัศมิได้ทรงแสดงความสามารถในด้านการบัญชาการรบเลย ส่วนแม่ทัพนายกองของไทยก็อ่อนแอไม่สามารถต้านทานทัพพม่าได้ แม่ทัพนายกองที่มีความสามารถมีความรักชาติบ้านเมือง ก็ไม่ได้รับความสะดวกในการสู้รบจึงเกิดความท้อถอย ดังเช่นพระยากตาก (สิน) ถึงกับตัดสินใจนำทหารประมาณ 500 คน ตีฝ่าวงล้อมของพม่าออกไปทางทิศตะวันออกเพื่อรวบรวมกำลังมาต่อสู้พม่า ในที่สุดกรุงศรีอยุธยาต้องสูญเสียเอกราชแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2310 ซึ่งพม่ามารบพุ่งอย่างโจร เพราะพม่าไม่ได้คิดจะรักษาเมืองไทยไว้เป็นเมืองขึ้น หากแต่ต้องการจะริบเอาทรัพย์สมบัติและกวาดต้อนผู้คนเป็นเชลยไปใช้สอยในเมืองพม่า ด้วยเหตุนี้ เมื่อพม่าตีเมืองไหนได้ก็เผาเสียทั้งเมืองน้อยเมืองใหญ่ตลอดจนราชธานี แล้วเลิกทัพกลับไป ดังนั้นการเสียกรุงครั้งที่ 2 นี้ บ้านเมืองจึงยับเยินยิ่งกว่าในสมัยเสียกรุงครั้งแรก ฝ่ายหัวเมืองต่างๆ ที่มิได้ถูกพม่าย่ำยี ก็ถือโอกาสตั้งตนเป็นอิสระถึง 5 ชุมนุม คือ ชุมนุมเจ้าพิมาย ชุมนุมเจ้าพระฝาง ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราชและชุมนุมพระยาตาก (หรือพระยาวชิรปราการ) พระยาตากได้รวบรวมสมัครพรรคพวก ทำการสู้รบขับไล่พม่า จนกระทั่งสามารถกอบกู้เอกราชกลับคืนมาได้ แต่สภาพกรุงศรีอยุธยาทรุดโทรมมาก ยากแก่การบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ พระยาตากจึงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานีแทนกรุงศรีอยุธยา

อ้างอิงข้อมูลมาจาก
http://www.bp-smakom.org
วันที่ 9 กรกฎาคม 2553
วัชระ:
การสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี.
หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสามารถกู้เอกราชคืนมาจากพม่าแล้ว สภาพบ้านเมืองของกรุงศรีอยุธยาทุดโทรมมาก ไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นเมืองหลวงอีกต่อไป เพราะ
1. กรุงศรีอยุธยาถูกทำลายชำรุดทรุดโทรมมาก ยากแก่การบูรณะให้ดีดังเดิมได้
2. กรุงศรีอยุธยามีบริเวณกว้างขวางมาก เกินกว่ากำลังของพระองค์ที่มีอยู่ เพราะผู้คนอาศัยอยู่ตามเมืองน้อย ส่วนมากหลบหนีพม่าไปอยู่ตามป่า จึงยากแก่การรักษาบ้านเมืองได้สะดวกและปลอดภัย
3. ข้าศึกโดยเฉพาะพม่ารู้ลู่ทางภูมิประเทศและจุดอ่อนของกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างดี ทำให้ไทยเสียเปรียบในด้านการรบ
4. ที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาเป็นอันตรายทั้งทางบกและทางน้ำ ข้าศึกสามารถโจมตีได้สะดวก
5. กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ห่างจากปากแม่น้ำมากเกินไป ทำให้ไม่สะดวกในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ ซึ่งนับวันจะเจริญขึ้นเรื่อย ๆ
ดังนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงทรงตัดสินใจเลือกเอากรุงธนบุรีเป็นราชธานีด้วยสาเหตุสำคัญต่อไปนี้
1. กรุงธนบุรีเป็นเมืองขนาดเล็ก เหมาะสมกับกำลังป้องกันทั้งทางบกและทางน้ำ
2. กรุงธนบุรีตั้งอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา สะดวกในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ
3. สะดวกในการควบคุมการลำเลียงอาวุธและเสบียงต่าง ๆ ไปตามหัวเมืองหรือจากหัวเมืองเข้ามาช่วย เมื่อเกิดศึกสงคราม
4. ถ้าหากข้าศึกยกกำลังมามากเกินกว่ากำลังของทางกรุงธนบุรีจะต้านทานได้ก็สามารถย้ายไปตั้งมั่นที่จันทบุรีได้ โดยอาศัยทางเรือได้อย่างปลอดภัย
5. กรุงธนบุรีมีป้อมปราการอยู่ทั้งสองฟากแม่น้ำ ที่สร้างไว้ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชหลงเหลืออยู่ สามารถใช้ในการป้องกันข้าศึกได้บ้างที่จะเข้ามารุกรานโดยยกกำลังมาทางเรือ คือ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ และป้อมวิไชเยนทร์

การรวบรวมอาณาเขต

เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าใน พ.ศ. 2310 บ้านเมืองเกิดความวุ่นวายแตกสาแหรกขาด ผู้คนพากันหลบหนีเอาชีวิตรอด เกิดข้าวยากหมากแพง ผู้คนที่รอดพ้นจากการจับกุมและไม่ถูกกวาดต้อนไปยังพม่า ได้พยายามรักษาตัวรอด โดยการซ่องสุมผู้คนขึ้นตั้งกันเป็นก๊กเป็นเหล่า ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ชุมนุม ได้แก่
1. ชุมนุมเจ้าพิมาย ตั้งอยู่ที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมาในปัจจุบัน หัวหน้าคือ กรมหมื่นเทพพิพิธ โอรสสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เจ้าเมืองพิมายมีความจงรักภักดีต่อราชวงศ์บ้านพลูหลวง จึงได้สนับสนุนขึ้นเป็นใหญ่
2. ชุมนุมเจ้าพระฝาง ตั้งอยู่ที่สวางคบุรี ทางเหนือของจังหวัดอุตรดิตถ์ มีอาณาเขตตั้งแต่เมืองพิชัยไปจนถึงเมืองแพร่ เจ้าพระฝาง (เรือน) เป็นสังฆราชเมืองสวางคบุรี มีความสามารถทางคาถาอาคม จึงตั้งตัวเป็นใหญ่ได้ทั้งที่อยู่ในสมณเพศ (แต่ใช้ผ้าแดงนุ่งห่มแทนผ้าเหลือง)
3. ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก ตั้งอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลก เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) เป็นหัวหน้า เป็นชุมนุมที่สำคัญทางเหนือ มีอาณาเขตตั้งแต่เมืองพิชัย ลงมาถึงนครสวรรค์ เจ้าพระยาพิษณุโลกเป็นขุนนางใหญ่ที่มีความสามารถในด้านการปกครองและการรบ พวกขุนนางที่หลบหนีพม่าออกจากรุงศรีอยุธยาได้ไปสมทบกับชุมนุมนี้เป็นอันมาก ต่อมาถึงแก่พิราลัย หัวหน้าชุมนุมคนต่อมา คือ พระอินทร์อากร
4. ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช หัวหน้าคือ เจ้านครศรีธรรมราช (หนู) หรือหลวงสิทธินายเวร มีอาณาเขตตั้งแต่หัวเมืองมลายูขึ้นมาถึงเมืองชุมพร
5. ชุมนุมพระยาตาก ตั้งอยู่บริเวณหัวเมืองชายทะเลทางฝั่งตะวันออก เมื่อพม่าเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยา ได้พยายามป้องกันรักษาบ้านเมืองอย่างเต็มที่ แต่สถานการณ์ของกรุงศรีอยุธยาขณะนั้นคับขันมาก ทำให้พระยาตากรวบรวมสมัครพรรคพวกไทย-จีน ประมาณ 500 คน ตีฝ่ากองทัพพม่าออกจากเมืองในเดือนยี่ (มกราคม) พ.ศ.2309 เพื่อที่จะรวบรวมผู้คนมาสู้รบกับพม่าในตอนหลัง
พระยาตากมุ่งหน้าไปทางตะวันออกของเมืองนครนายก และปราจีนบุรี ผ่านฉะเชิงเทรา ชลบุรี ถึงระยอง และที่ระยอง พระยาตากได้ตั้งตัวเป็นใหญ่ พวกบริวารจึงเรียกว่า “เจ้าตาก” แต่นั้นมา การที่เจ้าตากเลือกที่ตั้งมั่นทางหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก เพราะ
1. หัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออกไม่ได้เป็นเส้นทางที่พม่าเดินทัพผ่าน
2. เจ้าตากตัดสินใจเข้าโจมตีเมืองจันทบุรี เพราะจันทบุรีเป็นหัวเมืองเอกทางฝั่งทะเลด้านตะวันออก อุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร สามารถค้าขายกับพ่อค้าจีนทางทะเลได้สะดวก และยังมีป้อมปราการมั่นคง เหมาะสำหรับยึดเป็นที่มั่นเพื่อเตรียมการรวบรวมไพร่พลต่อไป เจ้าตากยึดเมืองจันทบุรีได้ในเดือน 7 (มิถุนายน) พ.ศ.2310 หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว 2 เดือน

การดำเนินงานกู้อิสรภาพ

เจ้าตากใช้เมืองจันทบุรีเป็นแหล่งตระเตรียมการที่จะเข้ามากอบกู้กรุงศรีอยุธยาให้พ้นจากอำนาจของพม่า ระหว่างฤดูฝน ได้ต่อเรือรวบรวมกำลังผู้คนและอาวุธ เจ้าตากพิจารณาว่าในระยะนั้นมีผู้คนตั้งตัวเป็นใหญ่หลายชุมนุมด้วย ผู้ที่จะเป็นใหญ่ได้จำเป็นจะต้องกำจัดอำนาจพม่าให้พ้นจากราชธานีเสียก่อน ดังนั้น เมื่อสิ้นฤดูฝนเจ้าตากได้ควบคุมเรือรบ 100 ลำ รวบรวมไพร่พล ประมาณ 5,000 คน ยกกองทัพเรือออกจากเมืองจันทบุรีมาถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยาในเดือน 12 ตีเมืองธนบุรีและจับตัวนายทองอินประหารชีวิตแล้วขึ้นไปยังค่ายโพธิ์สามต้น สามารถขับไล่พม่าออกไปจากกรุงศรีอยุธยาได้เป็นผลสำเร็จ หลังจากที่ไทยตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าเพียง 7 เดือนเท่านั้น
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสามารถกู้เอกราชและรวบรวมคนไทย ตั้งเป็นอาณาจักรไทยให้เป็นปึกแผ่นได้ เป็นเพราะ
1. พระปรีชาสามารถในการรบของพระองค์
2. พระปรีชาสามารถในการผูกมัดน้ำใจคน จูงใจผู้อื่น ทรงมีความสุขุมรอบคอบ และเด็ดเดี่ยว
3. ทหารของพระองค์มีความสามารถ มีระเบียบวินัย กล้าหาญ มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในอันที่จะสร้างความมั่นคง และความปลอดภัยให้และประเทศโดยอุทิศตัวเพื่อประเทศชาติอย่างแท้จริง
เมื่อตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี อาณาจักรของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีอาณาเขตเพียงกรุงธนบุรี หัวเมืองรายรอบและหัวเมืองชายทะเลตะวันออกเท่านั้น ครั้งเมื่อพระองค์ปราบปรามชุมนุมต่างๆเป็นผลสำเร็จแล้ว อาณาจักรของพระองค์ก็กว้างขวางขึ้น การรวบรวมอาณาเขตภายในราชอาณาจักรของพระองค์ ใช้เวลาเพียง 3 ปีเท่านั้น บ้านเมืองก็กลับสู่สภาพปกติอีกครั้ง

การปราบปรามชุมนุมต่าง ๆ

แผนการปราบปรามชุมนุมต่างๆ เริ่มขึ้นใน พ.ศ. 2311 ด้วยการยกทัพเรือจากธนบุรี เพื่อปราบปรามชุมนุมพิษณุโลก แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะได้รับการต่อต้านจนกระทั่งพระเจ้าตากทรงบาดเจ็บต้องยกทัพกลับ ส่วนทางพระยาพิษณุโลกเห็นเป็นโอกาสเหมาะจึงตั้งตัวเป็นกษัตริย์ พอราชาภิเษกได้ 7 วัน ก็ประชวรและถึงแก่พิราลัยในที่สุด พระอินทร์อากรน้องชายได้ขึ้นครองเมืองแทน เมืองพิษณุโลกก็เริ่มอ่อนแอทรุดโทรมลงตามลำดับ ด้วยเหตุนี้เจ้าพระฝางเห็นเป็นโอกาสเหมาะ จึงยกทัพลงมาตีเมืองพิษณุโลกเอาไว้ได้ในที่สุด
ทางฝ่ายสมเด็จพระเจ้าตาก เมื่อทราบข่าวพระยาพิษณุโลกถึงแก่พิราลัยและเมืองพิษณุโลกเกิดรบพุ่งกับเจ้าพระฝางเมืองสวางคบุรี ก็เห็นเป็นโอกาสเหมาะจึงยกทัพไปตีชุมนุมเจ้าพิมาย และตีได้เป็นชุมนุมแรก
พ.ศ.2312 โปรดให้ยกทัพไปตีชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช และสามารถตีเมืองนครศรีธรรมราชได้ มีผลทำให้อำนาจของกรุงธนบุรีขยายไปถึงสงขลา พัทลุงและเทพา
พ.ศ.2313 ได้ยกทัพไปปราบเจ้าพระฝางได้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งขณะเดียวกันก็ยึดเมืองพิษณุโลกได้ด้วย

การป้องกันพระราชอาณาจักร

ปัญหาที่สำคัญยิ่งตลอดรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช คือ การรักษาเอกราชของประเทศให้มั่นคงปลอดภัย หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงรบชนะพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น และทรงกอบกู้เอกราชได้สำเร็จ ได้ต้องทำการรบกับพม่าอีกหลายครั้งซึ่งส่วนใหญ่ไทยเป็นฝ่ายชนะ การทำสงครามกับพม่าครั้งสำคัญ เช่น
1. การรบกับพม่าที่บางกุ้ง สมุทรสงคราม พ.ศ. 2311 ผลปรากฏว่าพม่าแพ้เสียอาวุธและเสบียงอาหาร และเรือเป็นจำนวนมาก
2. พม่าตีเมืองสวรรคโลก พ.ศ. 2313 ผลปรากฏว่าพม่าไม่สามารถตีไทยได้
3. ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2313 สงครามครั้งนี้ต่อเนื่องจากสงครามครั้งที่ 2 เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยกทัพขึ้นไปช่วยรักษาเมืองสวรรคโลก ทรงเห็นเป็นโอกาสดีที่จะยึดเมืองเชียงใหม่มาจากพม่า แต่ไม่สำเร็จ
4. พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ 1 พ.ศ. 2315 แต่ไม่สำเร็จ ถูกตีแตกพ่ายไป
5. พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ 2 พ.ศ. 2316 ผลปรากฏว่าพม่าพ่ายแพ้ไปทำให้เกิดวีรกรรมพระยาพิชัยดาบหักขึ้น
6. ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่ 2 พ.ศ.2317 สามารถยึดเชียงใหม่เป็นเมืองขึ้นได้
7. การรบกับพม่าที่บางแก้ว ราชบุรี พ.ศ. 2317 ผลปรากฏว่าพม่าแพ้เสียชีวิตและถูกจับเป็นเชลยเป็นจำนวนมาก
8. อะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ โดยเฉพาะพิษณุโลก พ.ศ. 2318-2319 สงครามครั้งนี้นับว่าเป็นสงครามครั้งใหญ่ในสมัยธนบุรี ผลปรากฏว่าพม่าแพ้ถูกจับเป็นเชลยหลายหมื่นคน
9 .พม่าตีเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2319 พม่าไม่สามารถตีเมืองเชียงใหม่ได้ต้องแตกพ่ายไป แต่หลังจากที่พม่าแตกทัพกลับไปแล้วสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเห็นว่าเชียงใหม่มีผู้คนไม่มากพอที่จะรักษาเมือง จึงอพยพผู้คนออกจากเมืองและประกาศให้เป็นเมืองร้างตั้งแต่นั้นมา จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงได้ตั้งขึ้นมาใหม่

การขยายอาณาเขต

หลังจากที่เหตุการณ์ภายในกรุงธนบุรีสงบเรียบร้อยแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงเริ่มขยายอาณาเขตออกไปยังประเทศใกล้เคียง ได้แก่ เขมรและลาว
1. การขยายอำนาจไปยังเขมร ขณะนั้นดินแดนเขมรเกิดการแก่งแย่งอำนาจกันระหว่างพระรามราชา (นักองนน)กับพระนารายณ์ราชา(นักองตน) พระนารายณ์ราชาไปขอความช่วยเหลือจากญวน พระรามราชาสู้ไม่ได้หนีมาขอความช่วยเหลือจากไทย ครั้งแรกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชส่งพระราชสาสน์ไปยังพระนารายณ์ราชาให้มาสวามิภักดิ์ต่อไทย แต่พระนารายณ์ราชาไม่ยอม ดังนั้นจึงทรงโปรดฯให้พระยาอภัยรณฤทธิ์ (ทองด้วง) และพระยาอนุชิตราชา (บุญมา) นำทัพไปตีเขมรใน พ.ศ. 2312 ขณะที่ทัพไทยตีได้เมืองเสียมราฐ พระตะบอง โพธิสัตว์ กับจะตีเมืองพุทไธเพชร (บันทายเพชร) เขมรปล่อยข่าวว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสวรรคต พระยาอภัยรณฤทธิ์และพระยาอนุชิตราชาจึงยกทัพกลับพ.ศ.2314 เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชปราบชุมนุมต่างๆ เรียบร้อยแล้ว จึงเสด็จยกทัพไปตีเขมรอีกครั้งและสามารถตีเขมรได้สำเร็จ ได้สถาปนาพระรามาชาขึ้นครองเขมร ส่วนพระนารายณ์ราชาหนีไปพึ่งญวน ต่อมาได้มาสวามิภักดิ์ต่อไทย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดให้เป็นพระมหาอุปโยราช (วังหน้า) (ตำแหน่งพระมหาอุปโยราช คือ ตำแหน่งรัชทายาทของกษัตริย์เขมร ซึ่งเทียบเท่าตำแหน่งพระมหาอุปราชของไทย) เหตุการณ์ในเขมรจึงสงบลง
ต่อมาใน พ.ศ. 2323 เกิดการกบฏในเขมร พวกกบฏจับพระรามราชาและพระนารายณ์ราชาปลงพระชนม์ทั้งสองพระองค์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์ไปปราบการจลาจลได้สำเร็จ และโปรดเกล้าฯ ให้นักองเองซึ่งเป็นโอรสของพระนารายณ์ราชาได้ขึ้นครองราชสมบัติแทน แต่เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ จึงมีฟ้าทะละหะ (มู) เป็นผู้สำเร็จราชการแทน เขมรจึงหันไปพึงญวนอีกครั้งหนึ่ง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกไปปราบเขมร ขณะที่กองทัพไทยจะรบกับเขมรอยู่นั้น ก็มีข่าวว่าทางกรุงธนบุรีเกิดจลาจลวุ่นวาย ด้วยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเสียพระสติ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกจึงต้องรีบยกทัพกลับ
2. การขยายอำนาจไปลาว ในสมัยกรุงธนบุรีไทยได้ทำศึกขยายอำนาจไปยังลาว 2 ครั้ง คือ
2.1 การตีเมืองจำปาศักดิ์ เพราะเจ้าเมืองนางรองเกิดขัดใจกับเจ้าเมืองนครราชสีมา จึงคิดกบฏต่อไทยไปขอขึ้นกับเจ้าโอ (หรือเจ้าโอ้) สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดให้เจ้าพระยาจักรีไปปราบ จับเจ้าเมืองนางรองประหารชีวิต ทำให้เมืองจำปาศักดิ์และดินแดนลาวตอนล่างอยู่ภายใต้อำนาจของไทย ใน พ.ศ. 2319 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงแต่งตั้งเจ้าพระยาจักรี เป็น “สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกพิลึกมหิมา ทุกนัคราระอาเดช นเรศราชสุริยวงศ์” นับว่าเป็นการพระราชทานยศให้แก่ขุนนางสูงที่สุดเท่าที่เคยมีปรากฏมาในสมัยนั้น
2.2 การตีเวียงจันทน์ มีสาเหตุมาจากพระวอเสนาบดีของเจ้าสิริบุญสารเกิดวิวาทกับเจ้าครองนครเวียงจันทน์ พระวอจึงหนีเข้ามาอยู่ที่ตำบลดอนมดแดง (ในจังหวัดอุบลราชธานี) ขอสวามิภักดิ์ต่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เจ้าสิริบุญสารได้ส่งกองทัพมาปราบและจับพระวอฆ่าเสีย ใน พ.ศ. 2321 สมเด็จพระเจ้าตากสินมาหาราชจึงโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสีห์ยกกองทัพไปปราบ ขณะที่ไทยยกทัพไป เจ้าร่มขาวเจ้าผู้ครองเมืองหลวงพระบางมาขอสวามิภักดิ์ต่อไทยและส่งกองทัพมาช่วยตีเมืองเวียงจันทน์ด้วย เจ้าสิริบุญสารสู้ไม่ได้จึงหลบหนีไป เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกจึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตพร้อมทั้งพระบางมาไว้ที่ไทยด้วย (ส่วนพระบางนั้น ต่อมาไทยคืนให้แก่ลาวในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช)

อ้างอิงข้อมูลมาจาก
http://www.bp-smakom.org
วันที่ 9 กรกฎาคม 2553

วัชระ:
ความเจริญทางด้านต่างๆ ในสมัยธนบุรี และการติดต่อกับต่างประเทศ.
ตลอดระยะเวลา 15 ปี ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ในการต่อสู้ปราบปราม ป้องกันและขยายอาณาเขตของประเทศ จึงไม่ค่อยมีเวลาจะที่จะพัฒนาประเทศทางด้านอื่นมากนัก แต่ถึงกระนั้นพระองค์ก็ทรงพยายามสร้างความเจริญให้แก่ประเทศในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปกครอง ลักษณะการปกครองของกรุงธนบุรี ดำเนินรอยตามแบบแผนของสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยแบ่งการปกครองออกเป็น
1.1 การปกครองส่วนกลางหรือราชธานี อยู่ในความรับผิดชอบของอัครมหาเสนนาบดีทั้ง 2 ตำแหน่ง คือ สมุหกลาโหม ดูแลฝ่ายทหาร และสมุหนายก ดูแลฝ่ายพลเรือน กับตำแหน่งเสนาบดีจตุสดมภ์อีก 4 ตำแหน่ง คือ กรมเวียง กรมวัง กรมคลัง กรมนา กรมทั้ง 4 นี้ มีหน้าที่ คือ
1) กรมเวียง มีหน้าที่ปกครองท้องที่ บังคับบัญชาบ้านเมือง และรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
2) กรมวัง มีหน้าที่รับเกี่ยวกับราชสำนัก และพิจารณาพิพากษาคดีความของราษฎร
3) กรมคลัง มีหน้าที่รับจ่ายและเก็บรักษาพระราชทรัพย์ที่ได้มาจากส่วยอากร บังคับบัญชากรมท่าซึ่งเกี่ยวข้องกับการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ และมีหน้าที่เกี่ยวกับพระคลังสินค้าการค้าสำเภาของหลวง
4) กรมนา มีหน้าที่ดูแลการทำนา เก็บข้าวขึ้นฉางหลวง และพิจารณาคดีความเกี่ยวกับเรื่องโค กระบือและที่นา คำว่า “กรม” ในที่นี้หมายความคล้ายกับ “กระทรวง”ในปัจจุบัน
1.2 การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น
1) การปกครองหัวเมืองชั้นใน ที่อยู่รายรอบราชธานี เรียกว่า เมืองชั้นจัตวา มีผู้ปกครองเรียกว่า “ผู้รั้ง” ปฏิบัติตามคำสั่งของเสนาบดีจตุสดมภ์ในราชธานี
2) การปกครองหัวเมืองภายในราชอาณาจักร เรียกว่า หัวเมืองชั้นนอก หรือ เมืองพระยามหานคร เป็นเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานีออกไป แบ่งออกเป็นเมืองชื้นเอก โท ตรี
3) การปกครองหัวเมืองประเทศราช ที่อยู่ห่างไกลออกไปถึงชายแดน มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศอื่น ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาให้ตามกำหนด ได้แก่ กัมพูชา ลาว เชียงใหม่ และนครศรีอธรรมราช
2. ด้านกฎหมายและการศาล กฎหมายและวิธีพิจารณาคดีความในศาลสมัยธนบุรี ใช้ตามแบบสมัยอยุธยาเท่าที่มีหลักฐานปรากฏอยู่มีเพียงฉบับเดียว เกี่ยวกับการสักเลก คือ การลงทะเบียนชายฉกรรจ์เพื่อรับใช้ในราชการ เรียกว่า ไพร่หลวง การสักเลกในสมัยนั้นสำคัญมาก เพราะเป็นระยะเวลาของการป้องกันและแผ่อำนาจเพื่อให้ประเทศชาติมั่นคง ส่วนการศาลมักใช้บ้านของเจ้านาย บ้านของตุลาการ บางครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงเป็นผู้พิพากษาคดีเอง และทรงใช้ศาลทหารและพระบรมราชโองการเป็นกฎหมายใช้ในการตัดสินคดีความด้วย
3. ด้านเศรษฐกิจ หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าแล้ว สภาพเศรษฐกิจของไทยตกต่ำมากประชาชนยากจนอัตคัดฝืดเคือง อาหารหายากและราคาแพง เนื่องจากในขณะที่เกิดศึกสงครามผู้คนต่างพากันหนีเอาตัวรอด การทำไร่ทำนาต้องหยุดชะงักลง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในระยะที่ตั้งกรุงธนบุรีใหม่ๆ ด้วยการจ่ายพระราชทรัพย์ซื้อข้าวจากพ่อค้าต่างประเทศในราคาสูงเพื่อแจกจ่ายประชาชน และชักชวนให้ราษฎรกลับมาตั้งภูมิลำเนาอยู่ตามเมืองต่างๆ ทำมาหากินดังแต่ก่อน นอกจากนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ยังส่งเสริมทางด้านการค้าขาย มีการส่งเรือสำเภาไปค้าขายยังประเทศ อินเดียและประเทศใกล้เคียง สำหรับสิ่งของที่บรรทุกเรือสำเภาหลวงไปขาย เช่น ดีบุก พริกไทย ครั่ง ขี้ผึ้ง ไม้หอม ฯลฯ และเมื่อขายสินค้าหมดแล้วก็จะซื้อสินค้าต่างประเทศที่ต้องการใช้ในประเทศ เช่น ผ้าลายและถ้วยชามมาขายให้แก่ประชาชนอีกต่อหนึ่ง ซึ่งการค้าขายนี้เป็นแบบเดียวกับสมัยอยุธยา คือ อยู่ภายใต้การดูแลของพระคลังสินค้า หรือกรมาท่า มีการส่งเสริมให้ราษฎรทำการเพาะปลูก ทำให้เศรษฐกิจของประเทศค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ
4. ด้านสังคม สังคมไทยสมัยกรุงธนบุรีมีการควบคุมอย่างเข้มงวด เพื่อเตรียมพร้อมอยู่เสมอ เพราะมีการทำศึกกับพม่าบ่อยครั้ง มีการสักเลกบอกชื่อสังกัดมูลนายและเมืองไว้ที่ข้อมือไพร่หลวงทุกคน ซึ่งมีหน้าที่รับใช้ราชการปีละ 6 เดือน โดยการมารับราชการ 1 เดือน แล้วหยุดไปทำมาหากินของตนอีก 1 เดือนสลับกันไป เรียกว่า “การเข้าเดือนออกเดือน” ไพร่หลวงอีกพวกหนึ่ง เรียกว่า “ไพร่ส่วย” คือ ไพร่หลวงที่ส่งสิ่งของแทนการใช้แรงงานแก่ราชการ ซึ่งเป็นพวกที่รับใช้แต่เฉพาะเจ้านายที่เป็นขุนนาง
5. ด้านการศึกษา แม้ว่าบ้านเมืองจะอยู่ในภาวะสงคราม แต่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงทะนุบำรุงการศึกษาอยู่เสมอ ศูนย์กลางการศึกษาในสมัยธนบุรีอยู่ที่วัด เด็กผู้ชายเมื่อมีอายุพอสมควร พ่อแม่มักเอาไปฝากกับพระ เมื่อมีเวลาว่างพระก็จะสอนให้อ่านเขียน หนังสือแบบเรียนที่ใช้คือหนังสือจินดามณี เมื่ออ่านออกเขียนได้แล้ว ก็เรียนแต่งร้อยแก้ว โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ศึกษาศัพท์ เขมร บาลี สันสกฤต วิชาเลข เรียนมาตราไทย ชั่ง ตวง วัด มาตราเงินไทย คิดหน้าไม้ (วิธีการคำนวณหาจำนวนเนื้อไม้เป็นยก หรือเป็นลูกบาศก์) การศึกษาด้านอาชีพ พ่อแม่มีอาชีพอะไรก็มักฝึกให้ลูกหลานมีอาชีพตามตนเอง โดยฝึกฝนตกทอดกันมาหลายชั่วอายุคน เช่น วิชาช่างและแกะสลัก ช่างปั้น ช่างถม แพทย์แผนโบราณ ฯลฯ
ส่วนสตรี ประเพณีโบราณไม่นิยมให้เรียนหนังสือ มีน้อยคนที่อ่านออกเขียนได้ เด็กผู้หญิงส่วนมากจะถูกฝึกสอนให้ด้านการเย็บปักถักร้อย ทำกับข้าว การจัดบ้านเรือน และมารยาทของกุลสตรี
6. ด้านศาสนา เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 สิ่งสำคัญต่างๆ ในพระพุทธศาสนาถูกทำลายเสียหายมาก หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงย้ายเมืองหลวงมายังกรุงธนบุรี พระองค์ได้ฟื้นฟูศาสนาขึ้นใหม่โดยชำระความบริสุทธิ์ของพระสงฆ์ พระสงฆ์รูปใดที่ประพฤติไม่อยู่ในพระวินัยก็ให้สึกออกไปเสีย พระสงฆ์รูปใดประพฤติอยู่ในพระวินัยทรงอาราธนาให้บวชเรียนต่อไป นอกจากนี้ พระองค์ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการสร้างพระอุโบสถ วิหาร เสาสนะ กุฏิสงฆ์และวัดวาอารามต่างๆ เช่น วันบางยี่เหนือเหนือ (วัดราชคฤห์) วัดบางยี่เรือใต้ (วัดอินทาราม) วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆษิตาราม) วัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) วัดหงส์ (วัดหงส์รัตนาราม) เป็นต้น
นอกจากนี้เมื่อพระองค์ทราบว่าพระไตรปิฎกมีอยู่ที่ใด ก็ทรงให้นำมาคัดลอกเป็นฉบับหลวงไว้ที่กรุงธนบุรี แล้วส่งต้นฉบับกลับไปเก็บไว้ที่เดิม ทรงให้ช่างจารพระไตรปิฎกทั้งจบ ที่สำคัญที่สุดทรงให้อัญเชิญพระแก้วมรกต มาประดิษฐานที่วัดอรุณราชวราราม
7. ด้านศิลปะและวรรณกรรม สมัยกรุงธนบุรีด้านศิลปะมีไม่ค่อยมากนัก เพราะบ้านเมืองอยู่ในภาวะสงคราม ถึงกระนั้นพระองค์ก็ทรงให้มีการละเล่น เพื่อเป็นการบำรุงขวัญประชาชน ให้หายจากความหวาดกลัวและลืมความทุกข์ยาก มีขบวนแห่อัญเชิญและสมโภชพระแก้วมรกตเป็นเวลา 7 วัน การประชันละครระหว่างละครผู้หญิงของเจ้านครศรีธรรมราช และละครหลวง
ผลงานทางด้านวรรณกรรมในสมัยนั้น มีน้อยและไม่สู้สมบูรณ์นัก วรรณกรรมที่มีชื่อเสียง ได้แก่ บทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์บางตอน หลวงสรวิชิต (หน) ประพันธ์ลิลิตเพชรมงกุฏและอิเหนาคำฉันท์ นายสวนมหาดเล็ก ประพันธ์โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี การไปติดต่อกับจีนในปลายรัชสมัยทำให้มีวรรณกรรมเกิดขึ้นอีกเรื่องหนึ่ง คือ นิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน หรือนิราศเมืองกวางตุ้ง
ส่วนผลงานด้านสถาปัตยกรรมในสมัยธนบุรี ไม่มีผลงานดีเด่นที่พอจะอ้างถึงได้

องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ

องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศ

            การจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศอาจจำแนกออกเป็นสองระดับหลัก  คือองค์การระหว่างประเทศระดับโลก  และระดับภูมิภาค  ซึ่งทั้งสองระดับล้วนเป็นองค์การเพื่อประสานประโยชนืร่วมกันระหว่างประเทศปัจจุบัน  ดังนี้
 1.องค์การสหประชาชาติ(The United Nations:UN)สถาปนาอย่างเป็นทางการ  เมื่อวันที่ 24  ตุลาคม พ.ศ. 2488 หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง  มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงนิวยอร์กประเทศสหรัฐอเมริกา  มีประเทศเอกราชทุกภูมิภาคเป็นสมาชิกไม่ต่ำกว่า  190 ประเทศในปัจจุบัน  
1.1  เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
1.2  เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ฉันท์มิตรระหว่างประชาชาติ โดยยึดการเคารพต่อหลักการแห่งสิทธิอันเท่าเทียมกัน
1.3  เพื่อให้บรรลุถึงความร่วมมือระหว่างประเทศ  ในอันที่จะแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศทางด้าน  เศษฐกิจ  สังคม และมนุษยธรรมและการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานสำหรับทุกคน โดยไม่เลือกปฎิบัติในเรื่องเชื้อชาติ    ศาสนา  เพศ  หรือภาษา
1.4  เพื่อเป็นศูนย์กลางประสานงานของประชาชาติทั้งหลายให้กลมกลืนกัน  ในอันที่จะบรรลุจุดหมานปลายทางร่วมกัน 
 เช่น   การรักษาสันติภาพ  ส่งเสริมประชาธิปไตย  ส่งเสริมด้านมนุษย์ชน  พัฒนาความสัมพันธ์ทางการค้าระดับโลก  ให้ความคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา  เป็นต้น
2.สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(Association  of  Southeast  Asian  Nation:  ASEAN)หรืออาเซียน
ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2510  โดยมีสมาชิกเริ่มแรก  5 ประเทศ  คือ   ไทย อินโดนีเซีย  มาเลเซีย  ฟิลิปปินส์  และสิงคโปร์   ในปัจุบันได้สมาชิกเพิ่มได้แก่  บรูไน เวียดนาม  ลาว  และกัมพูชา
โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเร่งรัดความเจริญเติบโตทางเศษฐกิจ  ความก้าวหน้าทางสังคม  วัฒนธรรมของภูมิภาค   ส่งเสริมสันติภาพ  และเสถียรภาพของภูมิภาคตามหลักของสหประชาชาติ  ส่งเสริม  ร่วมมือและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องผลประโยชน์ทาเศษฐกิจ  สังคม  วัฒนธรรม วิชาการ  การบริหารอย่างจริงจัง
3.เขตการค้าเสรีอาเซียน(Asean  free  trade  area: AFTA)
เขตการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟตา เป็นการร่วมมือทางเศษฐกิจที่ทำให้การค้าขายในกลุ่มอาเซียนขยายตัว เป็นความคิดริเริ่มที่มาจากอดีตนายกรัฐมนตรีไทย   คือ นายอานันท์ ปันยาชุน    ที่เสนอต่อที่ประชุมอาเซียน  ณ  ประเทศสิงคโปร์    
โดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อให้การค้าภายในอาเซียนเป็นไปโดยเร็ว  อัตรภาษีต่ำที่สุด และเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติสู่ภูมิภาคอาเซียน ตลอดจนเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การค้าโลกที่เป็นระบบเสรียิ่งขึ้น  ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเศษฐกิจของไทยอย่างจริงจัง ระบบการค้าเสรี  เป็นลักษณะทวิภาคี  ระหว่างประเทศไทยกับประเทศในเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ออสเตรเลีย  และนิวซีแลนด์เป็นต้น
4.ความร่วมมือทางเศษฐกิจเอเชียแปซิฟิก หรือเอเปก(Asia-pacific economic cooperation:APEC)
ก่อตั้งใน  พ.ศ. 2532 ตามข้อเสนอของนายบ็อบฮอร์ก  อดีตนายกรัฐมนตรีประเทศออสเตรเลีย โดยกลุ่มเอเปกเป็นกลุ่มเศษฐกิจที่มีประชากรรวมกันมากที่สุดกว่า 2,000  ล้านคน ครอลคลุม สามทวีป  คือ  เอเชีย อเมริกา และออสเตรเลีย มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ประเทศ
สิงคโปร   มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศษฐกิจของภูมิภาคเอเชียและของโลก  โดยต้องการพัฒนาส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคีที่อยู่บนรากฐานของการเปิดการค้าเสรี  การลงทุน และหาทางลดอุปสรรคทางการค้า  โดยยึดหลักผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งไทยเคยเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมในปี พ.ศ.  2546 


ความขัดแย้งและความร่วมมือในคริสต์ศตวรรษที่ 20


ความขัดแย้งและความร่วมมือในคริสต์ศตวรรษที่ 20

สงครามโลกครั้งที่ 1

          สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I) 
          เป็นสงครามใหญ่ที่มีศูนย์กลางอยู่ในทวีปยุโรป  ระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 ถึง 11 พฤศจิกายน ค.ศ.1918 ทุกประเทศมหาอำนาจของโลกพัวพันในสงคราม แบ่งออกเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร (มีศูนย์กลางอยู่ที่ไตรภาคี อันประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศสและรัสเซีย) และฝ่ายมหาอำนาจกลาง (มีศูนย์กลางอยู่ที่ไตรพันธมิตร อันประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการีและอิตาลี)  พันธมิตร ทั้งสองมีการจัดระเบียบใหม่ และขยายขึ้นเมื่อมีชาติเข้าสู่สงครามมากขึ้น ในท้ายที่สุดมีทหารมากกว่า 70 ล้านนาย ซึ่งในจำนวนนี้เป็นชาวยุโรป 60 ล้านคน ถูกระดมเข้าสู่หนึ่งในสงครามครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์นี้    สงครามโลกครั้งที่หนึ่งยังนับว่าเป็นความขัดแย้งวงกว้างภายในทวีปยุโรปครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามนโปเลียน    ทหารผู้เข้าร่วมรบเสียชีวิตเกิน 9 ล้านนาย สาเหตุหลักเพราะมีความก้าวหน้าในเทคโนโลยีด้านอำนาจการยิงแต่ความก้าวหน้า ด้านความคล่องตัวตามไม่ทัน เป็นสงครามนี้เป็นสงครามที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์อันดับ ที่หก    สงครามนี้เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บและสูญหาย รวมกันไม่ต่ำกว่า 40 ล้านคน และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลายอย่าง เช่น การปฏิวัติในชาติที่เข้าร่วมรบ
          เมื่อสงครามยุติ รัฐจักรวรรดิใหญ่สี่รัฐ อันได้แก่ จักรวรดิเยอรมัน ออสเตรีย-ฮังการี รัสเซียและออตโตมัน พ่ายแพ้ทั้งทางการเมืองและทางทหารและได้สิ้นสภาพไป เยอรมนีและรัสเซียสูญเสียดินแดนไปมหาศาล ส่วนอีกสองรัฐที่เหลือนั้นล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิง แผนที่ยุโรปกลางได้ถูกเขียนใหม่โดยมีประเทศขนาดเล็กเกิดใหม่หลายประเทศ สันนิบาตชาติถูก ก่อตั้งขึ้นด้วยหวังว่าจะป้องกันความขัดแย้งเช่นนี้มิให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต ลัทธิชาตินิยมยุโรปเกิดขึ้นหลังสงครามและการล่มสลายของจักรวรรดิทั้งหลาย ผลสะท้อนจากความพ่ายแพ้ของเยอรมนีและปัญหากับสนธิสัญญาแวร์ซาย ยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นปัจจัยซึ่งนำไปสู่การปะทุของสงครามโลกครั้งที่สอง

กัฟรีโล ปรินซีปถูกจับกุมทันทีหลังลอบปลงพระชนม์อาร์คดยุคเฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรีย
 
 
สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1
                   สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งก็คือ การลอบปลงพระชนม์ อาร์คดุยค ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์รัชทายาทของบัลลังก์จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี โดยกัฟรีโล ปรินซีป ชาวเซิร์บบอสเนีย ซึ่งเป็นสมาชิกของแก๊งมือมืด และการแก้แค้นของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีต่อราชอาณาจักรเซอร์เบียก็ทำให้ เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ก่อให้เกิดสงครามครั้งใหญ่ปะทุขึ้นในทวีปยุโรป ภายในหนึ่งเดือน ทวีปยุโรปส่วอยู่ในสภาวะสงคราม นมากก็ แต่ความขัดแย้งที่มีมาตั้งแต่การรวมชาติเยอรมนี ตั้งแต่ ค.ศ. 1871 นั้นทำให้ยุโรปต้องอยู่ในสมดุลแห่งอำนาจซึ่งยากแก่การรักษา การแข่งขันทางทหาร อุตสาหกรรมและการแย่งชิงดินแดนก็ทำให้วิกฤตสุกงอมจนกระทั่งปะทุออกมาเป็น สงคราม 
                      สงครามครั้งนี้ได้แบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือ มหาอำนาจไตรภาคี (Triple Entente) ซึ่งเดิมประกอบด้วย ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร จักรวรรดิรัสเซีย รวมไปถึงประเทศอาณานิคมด้วย โดยส่วนใหญ่รัฐที่เข้าร่วมสงครามในภายหลังจะเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร โดยชาติมหาอำนาจที่เข้าสู่สงครามด้วย ได้แก่จักรวรรดิญี่ปุ่น เมื่อเดือนสิงหาคม 1914 อิตาลี เมื่อเดือนเมษายน 1915 และสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนเมษายน 1917 และฝ่ายมหาอำนาจกลาง ( Central Powers) ซึ่งเดิมประกอบด้วย จักรวรรดิเยอรมนี จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และดินแดนอาณานิคม จักรวรรดิออตโตมานได้เข้าร่วมกับฝ่ายมหาอำนาจกลางเมื่อเดือนตุลาคม 1914 และบัลแกเรียในอีกปีให้หลัง ระหว่างช่วงสงคราม ประเทศที่วางตัวเป็นกลางในทวีปยุโรป ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ สเปนและประเทศตามคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย แม้ว่าประเทศเหล่านี้อาจจะเคยส่งเสบียงและยุทโธปกรณ์ไปช่วยเหลือบางประเทศที่รบอยู่ก็ตาม 
                       การสู้รบที่เกิดขึ้นตามแนวรบด้านตะวันตกเกิดขึ้นไปตามระบบสนามเพลาะ และป้อมปราการซึ่งถูกแยกออกจากกันด้วยดินแดนรกร้าง แนวปราการเหล่านี้ตรึงขนานออกไปเป็นระยะมากกว่า 600 กิโลเมตรและเป็นส่วนสำคัญของสงครามสำหรับคนจำนวนมาก ส่วนในแนวรบด้านตะวันออก ที่ราบฝั่งตะวันออกที่กว้างขวางและเครือข่ายทางรถไฟที่จำกัด ทำให้การรบในสนามเพลาะไม่สามารถทำได้ แม้ว่าความรุนแรงของความขัดแย้งในด้านตะวันออกนั้น จะพอ ๆ กับด้านตะวันตกก็ตาม แนวรบตะวันออกกลางและแนวรบอิตาลีก็มีการสู้รบกันอย่างดุเดือดเช่นกัน และการสู้รบก็ยังลุกลามไปยังน่านน้ำ และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ คือการรบกลางอากาศ 
                        สงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของฝ่ายพันธมิตร และความปราชัยของฝ่ายมหาอำนาจกลาง ภายหลังสงคราม ได้มีการเซ็นสนธิสัญญาจำนวนมาก แต่ที่สำคัญคือ สนธิสัญญาแวร์ซายส์ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1919 แม้ว่าฝ่ายเยอรมนีจะยอมสงบศึกไปก่อนแล้วในปี 1918 ผลที่สำคัญอย่างหนึ่งของสงคราม ก็คือการวาดรูปแผนที่ยุโรปใหม่ ประเทศฝ่ายมหาอำนาจกลางสูญเสียดินแดนของตนเป็นจำนวนมาก และทำให้เกิดประเทศใหม่ขึ้นมาในยุโรปตะวันออก เยอรมนีสูญเสียอาณานิคมโพ้นทะเลทั้งหมด รวมไปถึงการต้องชดใช้ค่าปฏิกรสงครามจำนวนมหาศาล และการต้องทนการถูกตราหน้าว่าเป็นผู้เริ่มสงคราม จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีได้แตกออกเป็นประเทศเอกราชใหม่ ได้แก่ ออสเตรีย ฮังการี เชโกสโลวาเกีย ยูโกสลาเวีย จักรวรรดิออตโตมานล่มสลาย แผ่นดินเดิมของจักรวรรดินอกจากที่ราบสูงอนาโตเลียได้ถูกแบ่งให้กลายเป็นอาณานิคมของผู้ชนะสงครามทั้งหลาย
                           ส่วนชาวอาหรับเดิมได้กลายเป็นประเทศตุรกี จักรวรรดิรัสเซียซึ่งได้ถอนตัวจากสงครามในปี 1917 ได้สูญเสียดินแดนของตนเป็นจำนวนมากทางชายแดนด้านตะวันตกกลายเป็นประเทศใหม่ ได้แก่ เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ลัตเวีย ลิทัวเนีย และ โปแลนด์ และได้มีการก่อตั้ง สันนิบาตชาติ เพื่อเป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีจุดประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศด้วยวิธีการทางการทูต สงครามโลกครั้งที่หนึ่งถือเป็นจุดสิ้นสุดของยุคระเบียบโลกที่เกิดขึ้นหลังจากสงครามนโปเลียน และยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สงครามโลกครั้งที่สองเกิดขึ้น

 

สงครามโลกครั้งที่ 2

สาเหตุของสงคราม 1. ความไม่ยุติธรรมของสนธิสัญญา               ข้อบกพร่องของสนธิสัญญาสันติภาพหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 มีสาเหตุมาจากประเทศชนะสงคราม และประเทศที่แพ้สงครามต่างก็ไม่พอใจในข้อตกลง เพราะสูญเสียผลประโยชน์ ไม่พอใจในผลประโยชน์ที่ได้รับ โดยเฉพาะสนธิสัญญาแวร์ซายส์ที่เยอรมันไม่พอใจในสภาพที่ตนต้องถูกผูกมัดด้วยสัญญาและต้องการได้ดินแดน ผลประโยชน์และเกียรติภูมิที่สูญเสียไปกลับคืนมา (ความไม่พอใจของฝ่ายผู้แพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อข้อตกลงสันติภาพ โดยเฉพาะสนธิสัญญาสันติภาพแวร์ซายส์)

เงื่อนไขของสนธิสัญญาแวร์ซายส์ เยอรมนีต้องรับผลจากการสงครามโลกครั้งที่ 1 อย่างรุนแรง ดังต่อไปนี้ 
  1. เยอรมนีต้องสูญเสียดินแดนของตนคือ อัลซาสลอเรนให้แก่ฝรั่งเศส ต้องยอมยกดินแดนภาคตะวันออกให้โปแลนด์ไปหลายแห่ง
  2. ต้องยอมให้สันนิบาตชาติเข้าดูแลแคว้นซาร์เป็นเวลา 10 ปี
  3. เกิดฉนวนโปแลนด์ POLISH CORRIDOR ผ่านดินแดนภาคตะวันออกของเยอรมนีเพื่อให้โปแลนด์มีทางออกไปสู่ทะเลบอลติกที่เมืองดานซิก ซึ่งเยอรมนีถูกบังคับให้ยกดินแดนดังกล่าวให้โปแลนด์ เพื่อใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ยังผลให้ปรัสเซียตะวันออกถูกแยกออกจากส่วนอื่นของเยอรมนี ซึ่งฮิตเล่อร์ถือว่าเป็นสิ่งที่เขาไม่อาจยอมรับได้ต่อไป
  4. ต้องสูญเสียอาณานิคมทั้งหมดของตนให้แก่องค์การสันนิบาตชาติดูแลฐานะดินแดนในอาณัติ จนกว่าจะเป็นเอกราช
  5. ต้องยอมจํากัดอาวุธ และทหารประจําการลงอย่างมาก
  6. ต้องชดใช้ค่าเสียหายเป็นจํานวนมหาศาลให้แก่ประเทศที่ชนะสงคราม
2. ความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางการเมือง ระหว่างระบอบประชาธิปไตยกับระบอบเผด็จการ                    ปัญหาทางการเมือง และเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้หลายประเทศหันไปใช้ระบอบเผด็จการเพื่อแก้ปัญหาภายใน เช่น เยอรมนีและอิตาลี นำไปสู่การแบ่งกลุ่มประเทศ เพราะประเทศที่มีระบอบการปกครองเหมือนกันจะรวมกลุ่มกัน
ความแตกต่างทางด้านการปกครอง กลุ่มประเทศฟาสซิสต์มีความเข้มแข็งมากขึ้น ได้รวมกันเป็น มหาอำนาจอักษะ (Berlin-Rome-Tokyo Axis ) จุดประสงค์แรก คือเพื่อต่อต้านรัสเซีย ซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์ ต่อมาได้ขยายไปสู่การต่อต้านชนชาติยิวและนำไปสู่ความขัดแย้งกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร
3. ลัทธิชาตินิยมในประเทศเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น                   ลัทธิชาตินิยมในช่วงคริสตศตวรรษที่ 20   ซึ่งได้เกิดขึ้นในหลายๆประเทศรวมทั้งเยอรมนีด้วยเป็น ลักษณะของลัทธิชาตินิยมมีลักษณะย้ำการดําเนินนโยบายของชาติของตน การดำรงไว้ซึ่งบูรณภาพของชาติ การเพิ่มอํานาจของชาติ ขณะเดียวกันเน้นความยิ่งใหญ่ของอารยธรรมของตน มีความพยายามที่จะรักษาและเพิ่มพูนความไพศาล ศักดิ์ศรีและผลประโยชน์ของชาติตนไว้ มีการเน้นความสําคัญของเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ของตน ว่าเหนือเชื้อชาติ หรือเผ่าพันธุ์อื่น

เนื่องจากความไม่เป็นธรรมของสนธิสัญญาแวร์ซายส์ และเยอรมนีพัฒนาตนเองจนแข็งแกร่งเป็นอาณาจักรเยอรมนีที่ 3 และมีนโยบายบุกรุกดินแดน (นโยบายสร้างชาติภายใต้ระบอบเผด็จการ ฟาสซิสต์ในอิตาลี นาซีในเยอรมันและเผด็จการทหารในญี่ปุ่น)
4. ลัทธินิยมทางทหาร                 ได้แก่ การสะสมอาวุธเพื่อประสิทธิภาพของกองทัพ ทำให้เกิดความเครียดระหว่างประเทศมากขึ้น และเกิดความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน
5. นโยบายต่างประเทศที่ไม่แน่นอนของอังกฤษ                 การใช้นโยบายออมชอมของอังกฤษเมื่อเยอรมนีละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซายส์ เช่น การเพิ่มกำลังทหารและการรุกรานดินแดนต่างๆ ทำให้เยอรมนีและพันธมิตรได้ใจและรุกรานมากขึ้น
6. ความอ่อนแอขององค์การสันนิบาตชาติ                  เนื่องจากไม่มีกองทัพขององค์การ ทำให้ขาดอำนาจในการปฏิบัติการและอเมริกาไม่ได้เป็นสมาชิกจึงทำให้องค์การสันนิบาต เป็นเครื่องมือของประเทศที่ชนะใช้ลงโทษประเทศที่แพ้สงคราม (ความล้มเหลวขององค์การสันนิบาตชาติในการเป็นองค์กรกลางเพื่อเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างประเทศ) และความอ่อนแอของ องค์การสันนิบาตชาติ ที่ไม่สามารถบังคับประเทศที่เป็นสมาชิกและไม่ปฏิบัติตามสัตยาบันได้
7. บทบาทของสหรัฐอเมริกา                 สหรัฐปิดประเทศโดดเดี่ยว สมัยประธานาธิบดีมอนโร ตามแนวคิดในวาทะมอนโร สหรัฐจะไม่แทรกแซงกิจการประเทศอื่นและไม่ยอมให้ประเทศอื่นมาแทรกแซงกิจการของตนเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และรัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ประชาชนจึงเลือกพรรคเดโมแครต(Democratic Party)เข้ามาเป็นรัฐบาลปกครองประเทศโดยประธานาธิบดี แฟรงคลิน ดี รุสเวลท์ ได้รับเลือกต่อกันถึงสี่สมัย ( ค.ศ.1933 – 1945 )
8.สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก                ในช่วงทศวรรษ 1920 – 1930 โดยเฉพาะช่วง ในปี ค.ศ.1929-1931 ( ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 )

เครื่องบินขับไล่อังกฤษสปิตไฟร์ระหว่างยุทธการบริเตน
 ความล้มเหลวจากปฏิบัติการดังกล่าวยุติการรุกของเยอรมนีในยุโรปตะวันตก
 
ชนวนระเบิดของสงครามโลกครั้งที่ 2 
                   ชนวนที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ฉนวนโปแลนด์(Polish Corridor)   มีชาวเยอรมนีอาศัยอยู่มาก เยอรมนีเสียดินแดนส่วนนี้ให้แก่โปแลนด์ตามสนธิสัญญาแวร์ซาย์ และฉนวนโปแลนด์ยังแบ่งแยกดินแดนเยอรมนีเป็นสองส่วน คือส่วนปรัสเซียตะวันตกและปรัสเซียตะวันออก ฮิตเลอร์ ขอสร้างถนนผ่านฉนวนโปแลนด์ไปปรัสเซียตะวันออก อังกฤษและฝรั่งเศสคัดค้าน ฮิตเลอร์จึงยกเลิกสัญญาที่เยอรมนีจะไม่รุกรานโปแลนด์ และทำสัญญาไม่รุกรานกับสหภาพโซเวียต เยอรมนีเริ่มสงครามด้วยการบุกโปแลนด์ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 แบบสายฟ้าแลบ (Blitzkrieg)

                    กองทัพเยอรมนีบุกโปแลนด์เมื่อ 1 กันยายน 1939 เนื่องจากโปแลนด์ปฏิเสธที่จะยกเมืองท่า ดานซิก และฉนวนโปแลนด์ในเยอรมนี อังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งมีสัญญาค้ำประกันเอกราชของโปแลนด์ อังกฤษและฝรั่งเศสจึงยื่นคำขาดได้เยอรมันถอนทหารออกจากโปแลนด์ เมื่อฮิตเลอร์ไม่ปฏิบัติตาม ทั้งสองประเทศจึงประกาศสงครามกับเยอรมนี เมื่อเริ่มสงครามนั้น ประเทศคู่สงครามแบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือ
  1. ฝ่ายอักษะ ได้แก่ เยอรมนี อิตาลีและญี่ปุ่น
  2. ฝ่ายสัมพันธมิตร ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศสและรัสเซีย
                     ต่อมาประเทศต่าง ๆ ก็เข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจนสงครามได้แผ่ขยายกลายเป็นสงครามโลก ในปี ค.ศ. 1942 ฝ่ายอักษะ (ญี่ปุ่น เยอรมัน อิตาลี) ได้บุกยึดยุทธภูมิสำคัญคือ รัสเซีย แอฟริกาเหนือ และแปซิฟิก ซึ่งก็ประสบความสำเร็จเกือบทุกแห่ง โดยเฉพาะญี่ปุ่นซึ่งได้รับชัยชนะมากที่สุดในการยึดครองจักรวรรดิแปซิฟิก ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากอาณานิคมของตะวันตกไม่ตกสู้กับญี่ปุ่นเพื่อชาวยุโรป ซึ่งผิดกับญี่ปุ่นที่ถือประโยชน์จากคำขวัญที่ว่า "เอเชียเพื่อชาวเอเชีย"

                     สำหรับสงครามในโลกตะวันออกนั้นเริ่มต้นขึ้นในราว ค.ศ. 1941 เมื่อญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือของสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ ในวันที่ 7 ธันวาคม ปี 1941 สหรัฐอเมริกาจึงประกาศสงครามกับญี่ปุ่น และหลังจากนั้นเพียงไม่กี่วันเยอรมนีและอิตาลีก็ประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกา เนื่องจากทั้งสองประเทศได้ทำสัญญาพันธมิตรกับญี่ปุ่น จึงเท่ากับเป็นแรงผลักดันให้สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างเต็มตัว รวมทั้งประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้ต่างประกาศสงครามตามสหรัฐอเมริกาเกือบทั้งสิ้น
ฮิตเลอร์กับมุสโสลินีประกาศ
อักษะต่อกัน ค.ศ. 1935
 
 
เหตุการณ์ของสงครามโลกครั้งที่ 2
  • เยอรมนีโจมตีโปแลนด์ เมื่อ 1 กันยายน 1939
  • วันที่ 3 กันยายน 1939 อังกฤษและฝรั่งเศสประกาศสงครามกับเยอรมนี
เยอรมนีทำการลบแบบสายฟ้าแลบ ได้ชัยชนะอย่างรวดเร็ว ได้ดินแดนโปแลนด์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม เดนมาร์ก และฝรั่งเศส โจมตีอังกฤษ รัสเซีย ทางอากาศ ซึ่งเป็นสงครามทางอากาศที่ยิ่งใหญ่ที่สุด สงครามในระยะแรกสัมพันธมิตรแพ้ทุกสนามรบ

อังกฤษและฝรั่งเศสประกาศเข้าร่วมสงคราม ด้านมหาสมุทรแปซิฟิก ญี่ปุ่นบุกแมนจูเรีย(จีน)ในปี ค.ศ.1931 และเสนอแผนการที่จะสถาปนา “วงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา” เพื่อผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและด้านอื่นๆ ญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่ อ่าวเพิร์ล ฮาร์เบอร์ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 สหรัฐจึงเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง โดยประกาศสงครามเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร ขณะเดียวกันญี่ปุ่นเปิดสงครามในตะวันออกเฉียงใต้หรือเรียกว่า “สงครามมหาเอเชียบูรพา”

เมื่อเริ่มสงคราม สหรัฐอเมริกาวางตัวเป็นกลาง แต่เมื่อญี่ปุ่นโจมตีอ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ซึ่งเป็นฐานทัพของสหรัฐอเมริกา ในมหาสมุทรแปซิฟิก เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 1941 สหรัฐอเมริกาจึงเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 2 กับอังกฤษและฝรั่งเศส ทำให้ฝ่ายพันธมิตรมีชัยชนะ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 1945

ในระยะแรกของสงครามฝ่ายอักษะได้เปรียบอย่างเห็นได้ชัด แต่หลังจากวัน D-Day (Decision - Day) ซึ่งเป็นวันที่สัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่มอร์มังดี (Nomandy)ประเทศฝรั่งเศสด้วยกำลังพลนับล้านคน เครื่องบินรบ 11,000 เครื่อง เรือรบ 4,000 ลำ วิถีของสงครามจึงค่อย ๆ เปลี่ยนด้านกลายเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรได้เปรียบ

การรบในแปซิฟิก ญี่ปุ่นเป็นคู่สงครามกับสหรัฐอเมริกา สงครามก็ยุติลงอย่างเป็นรูปธรรมด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรโดยการทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรกชื่อลิตเติลบอย ที่เมืองฮิโรชิมา เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 1945 และลูกที่ 2 ชื่อแฟตแมน ที่เมืองนางาซากิ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 1945 และวันที่ 14 สิงหาคม 1945 ประเทศญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ เมื่อญี่ปุ่นเซ็นต์สัญญาสงบศึกกับสหรัฐอเมริกาบนเรือรบมิสซูรี ในวันที่ 14 สิงหาคม 1945

การยุติลงของสงครามโลกครั้งที่ 2 
  • สัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่ ชายฝั่งแคว้นนอร์มังดี วัน D-DAY
  • สงครามโลกในยุโรปสิ้นสุดลงเมื่อกองทัพสัมพันธมิตรบุกเข้าเบอร์ลินในเดือนมิถุนายน ค.ศ.1944
  • เมื่อสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาและเมืองนางาซากิ ในวันที่ 6และ 9 สิงหาคม ค.ศ.1945
ใน ค.ศ. 1943 สัมพันธมิตรได้ประชุมกันที่เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา ประเด็นสำคัญของการประชุมคือ กองกำลังของสัมพันธมิตรจะบุกเข้าไปถึงใจกลางของเยอรมนีและทำลายกองทัพเยอรมนีลงให้ได้ โดยมีนายพลไอเซนเฮาว์ (Eisenhower) เป็นผู้บัญชาการของสัมพันธมิตรในยุโรปตะวันตก การปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด (Operation Overlord) นับเป็นการบุกฝรั่งเศสครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ ฝ่ายสัมพันธมิตรประกอบด้วยทหารสหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา และฝรั่งเศส จำนวน 155,000 คน บุกขึ้นฝั่งนอร์มังดี ทางเหนือของฝรั่งเศส ในวันที่ 6 มิถุนายน 1944 เรียกว่าวัน D – Day (Decision Day)
ผลของสงครามโลกครั้งที่สอง 
  1. มีการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติ(UN : United Nations)เพื่อดำเนินงานแทนองค์การสันนิบาตชาติ ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อรักษาสันติภาพของโลกและให้กลุ่มสมาชิกร่วมมือช่วยเหลือกัน และสนับสนุนสันติภาพของโลก รวมทั้งการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ซึ่งนับว่ามีความเข้มแข็งกว่าเดิม เพราะสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งและมีกองทหารของสหประชาชาติ 
  2. ทำให้เกิดสงครามเย็น(Cold War)ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้น ประเทศสหภาพโซเวียต(USSR) ปกครองโดยสมัยสตาร์ลินมีนโยบายขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ไปสู่ ยุโรปตะวันออก และเยอรมนีตะวันออก ซึ่งมีทหารรัสเซียเข้าปลดปล่อยดินแดนเหล่านี้จากอำนาจฮิตเลอร์ในสงครามโลกครั้งที่สอง ขณะที่สหรัฐต้องการสกัดกั้นการขยายตัวดังกล่าว และเผยแผ่การปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยในประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะดินแดนอาณานิคมที่ประกาศเอกราช เป็นประเทศใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง จนเกิดสภาวการณ์ที่เรียกว่า สงครามเย็น( Cold War ) 
  3. ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะ มีการนำอาวุธที่ทันสมัยและระเบิดปรมาณูมาใช้ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินมากกว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 
  4. การเกิดประเทศเอกราชใหม่ๆ (ประเทศที่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกต่างประกาศเอกราชของตนเอง ทั่วโลก โดยเฉพาะในเอเชีย และ แอฟริกา และบางประเทศถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เช่น เยอรมนี เกาหลี เวียดนาม 
  5. สภาพเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก 
  6. ความสูญเสียทางด้านสังคมและทางจิตวิทยา 
  7. เกิดมหาอำนาจของโลกใหม่ คือ สหรัฐอเมริกา และ สหภาพโซเวียต

    หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งยืดเยื้อยาวนานเกือบ 6 ปียุติลง ลัทธิเผด็จการฟาสซิสต์ในอิตาลี นาซีในเยอรมัน และเผด็จการทหารในญี่ปุ่นก็ล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิง ขณะเดียวกัน ตำแหน่งแห่งที่มหาอำนาจของโลกก็มีการปรับเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ในโลกเสรีหรือโลกประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกาได้ก้าวขึ้นสู่ความเป็นอภิมหาอำนาจเหนืออังกฤษและฝรั่งเศส มิใช่เพียงเพราะสหรัฐอเมริกามียุทโธปกรณ์ที่ทรงอานุภาพเท่านั้น แต่เพราะอังกฤษและฝรั่งเศสได้รับความบอบช้ำจากผลพวงของสงครามครั้งนี้อย่างมหาศาล จึงไม่อาจจรรโลงโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจเดิมเอาไว้ได้อีกต่อไป

    อย่างไรก็ตาม สหรัฐอเมริกาก็มิได้เป็นอภิมหาอำนาจเดี่ยวโดยปราศจากคู่แข่ง เพราะอีกขั้วหนึ่งสหภาพโซเวียต(USSR)ก็ได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งมหาอำนาจในค่ายคอมมิวนิสต์ ทั้งยังเป็นแกนนำในการเผยแพร่อุดมการณ์การเมืองแบบสังคมนิยมออกไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก 
  8. เกิดการแบ่งขั้วอย่างชัดเจนของสองมหาอำนาจจนนำไปสู่เกิดสงครามเย็นและการแบ่งกลุ่มประเทศระหว่างโลกเสรีประชาธิปไตยกับโลกคอมมิวนิสต์ สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงด้วยความพ่ายแพ้ของฝ่ายอุดมการณ์ฟาสซิสต์ทั้งในยุโรปและเอเซีย และได้เกิดอุดมการณ์ใหม่ขึ้นเมื่อมีการเผชิญหน้ากันระหว่างสหรัฐ อเมริกาและสหภาพโซเวียต โลกถูกแบ่งแยกออกเป็นสองค่าย กล่าวคือ สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำค่ายประชาธิปไตย ส่วนสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำค่ายคอมมิวนิสต์ ต่างฝ่ายต่างพยายามนำเสนอระบบการเมืองที่ตนยึดมั่น เพื่อให้ประเทศอื่น ๆ รับไปใช้เป็นแม่แบบการปกครอง และพยายามแข่งขันกันเผยแพร่อุดมการณ์ทางลัทธิการเมืองของตนในกลุ่มประเทศที่เกิดใหม่หลังสงคราม เงื่อนไขนี้เองจึงก่อให้เกิดการแข่งขัน ขัดแย้งทางอุดมการณ์การเมืองการปกครอง และค่อย ๆ ลุกลาม รุนแรงจนอยู่ในสภาพที่เรียกว่า “สงครามเย็น” (Cold War) 
  9. เกิดปัญหาเกี่ยวกับประเทศที่แพ้สงคราม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดปัญหาขึ้นในกลุ่มประเทศที่แพ้สงคราม เช่น เยอรมนีถูกแบ่งแยกออกเป็นเยอรมนีตะวันตก ให้อยู่ในอารักขาของสัมพันธมิตร ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส ฝ่ายหนึ่ง และเยอรมนีตะวันออกให้อยู่ในความอารักขาของสหภาพโซเวียต จนกระทั่ง ค.ศ. 1949 ฝ่ายสหรัฐอเมริกาได้จัดให้มีการเลือกตั้งเสรีขึ้นในเยอรมนีตะวันตกและตั้งเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ส่วนสหภาพโซเวียตก็ได้จัดตั้งรัฐสภาประชาชนขึ้นในเยอรมนีตะวันออกและปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ จัดตั้งเป็นสาธารณะรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน ทำให้เยอรมนีถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเทศ ซึ่งปัจจุบันได้ตกลงมารวมกันเป็นประเทศเยอรมนีนับแต่ปี 1990 เป็นต้นมานอกจากนี้ญี่ปุ่นที่ถูกยึดครองโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้มีอำนาจเต็มแต่เพียงผู้เดียวในการวางนโยบายครองญี่ปุ่น แต่ยังคงให้ญี่ปุ่นมีรัฐบาลและมีจักรพรรดิเป็นประมุขของประเทศ สหรัฐอเมริกาประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนอุดมการณ์ของคนญี่ปุ่นให้หันมายอมรับฟังระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยและสันติภาพ ในช่วงที่เกิดสงครามเกาหลีสหรัฐอเมริกาได้เข้าไปช่วยฟื้นฟูพัฒนาเศรษฐกิจญี่ปุ่น และช่วยเหลือให้ญี่ปุ่นเปลี่ยนเป็นประเทศอุตสาหกรรม จนกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกในปัจจุบัน
    - ตามข้อตกลงปอตสดัม ทำให้เยอรมันถูกแบ่งออกเป็น 4 เขต และถูกยึดครองจากกลุ่มประเทศที่แบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ สหรัฐฯ อังกฤษ และฝรั่งเศส ฝ่ายหนึ่ง และสหภาพโซเวียต อีกฝ่ายหนึ่ง
    - ความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ของสหภาพโซเวียตกับสหรัฐฯ ส่งผลให้เยอรมันถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ เยอรมันตะวันตก และเยอรมันตะวันออก 
  10. สหรัฐฯได้เข้าปกครองญี่ปุ่นเป็นเวลานานถึง 6 ปี โดยเข้าร่วมฝ่ายพันธมิตรหลังจากการโจมตีเพิร์ลฮาเบอร์ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ในแถลงการณ์ของสหประชาชาติ เมื่อ 1 มกราคม ค.ศ. 1942 มีประเทศต่างๆ เข้าร่วมฝ่ายพันธมิตรอย่างเป็นทางการจำนวน 26 ประเทศ (แถลงการณ์นี้เป็นพื้นฐานของการก่อตั้งสหประชาชาติในภายหลัง)
  11. ประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมได้รับเอกราช บรรดาดินแดนที่เคยเป็นอาณานิคมของชาติมหาอำนาจตะวันตกและญี่ปุ่นต่างก็ทยอยกันได้รับเอกราชและแสวงหาลัทธิการเมืองของตนเอง ทั้งในเอเชีย และ แอฟริกา เช่น ยุโรปตะวันออกอยู่ในค่ายคอมมิวนิสต์ ยุโรปตะวันตกเป็นกลุ่มประชาธิปไตย ส่วนในเอเชียนั้นจีนและเวียดนามอยู่ในค่ายคอมมิวนิสต์ แต่การได้รับเอกราชของชาติต่าง ๆ ได้ก่อให้เกิดปัญหามากมาย เช่น

    เกาหลีภายหลังได้รับเอกราชภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถูกแบ่งเป็นเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ และได้ทำสงครามระหว่างกัน ค.ศ. 1950 – 1953 โดยเกาหลีเหนือซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตและจีนคอมมิวนิสต์เป็นผู้รุกรานเกาหลีใต้ องค์การสหประชาชาติได้ส่งทหารสัมพันธมิตรที่นำโดยสหรัฐอเมริกาเข้าปกป้องเกาหลีใต้ไว้ได้ จนต่อมาได้มีการลงนามในสัญญาสงบศึกที่หมู่บ้านปันมุนจอมในเขตเกาหลีเหนือ ปัจจุบันเกาหลีเหนือใต้มีแนวโน้มที่จะรวมกันเป็นประเทศเดียวในอนาคต

    เวียดนามต้องทำสงครามเพื่อกู้อิสรภาพของตนจากฝรั่งเศส และถึงแม้จะชนะฝรั่งเศสในการรบที่เดียนเบียนฟูใน ค.ศ. 1954 แต่เวียดนามก็ถูกแบ่งออกเป็นเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ ทั้งสองประเทศได้ต่อสู้กันเพราะความขัดแย้งในอุดมการณ์ที่แตกต่างกันระหว่างคอมมิวนิสต์กับเสรีประชาธิปไตย ในที่สุดเมื่อสหรัฐอเมริกาผู้สนับสนุนเวียดนามใต้ยุติการให้ความช่วยเหลือและถอนทหารกลับประเทศ เวียดนามก็รวมประเทศได้สำเร็จใน ค.ศ. 1975 ในเวลาเดียวกันลาวและกัมพูชาซึ่งปกครองโดยรัฐบาลคอมมิวนิสต์ก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางการเมืองของเวียดนาม แต่สามารถจัดตั้งรัฐบาลของตนเองได้ในเวลาต่อมา

 
ระเบิดปรมาณูซึ่งถูกทิ้งที่เมืองนะงะซากิ

ไทย กับสงครามโลกครั้งที่ 2 
ทางด้านเอเชีย ญี่ปุ่นประกาศสงครามกับสัมพันธมิตร เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ต่อมา วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 กองทหารญี่ปุ่นก็เข้าเมืองไทย ทางสงขลา ปัตตานี ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ และ สมุทรปราการ ขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นก็เข้าโจมตีเกาะฮาวาย, ฟิลิปปินส์และส่งทหารขึ้นบกที่มลายูและโจมตีสิงคโปร์ทางเครื่องบิน

สงครามโลกครั้งที่สองเกิดขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939)ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 8 (ขณะนั้นเสด็จประทับอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์) หลวงพิบูลสงคราม(จอมพล ป. พิบูล สงคราม)เป็นนายกรัฐมนตรี

เมื่อเริ่มสงครามนั้นไทยประกาศตนเป็นกลาง แต่ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ญี่ปุ่นนำเรือรบบุกขึ้นชายทะเลภาคใต้ของไทยโดยไม่ทันรู้ตัว รัฐบาลต้องยอมให้ญี่ปุ่นผ่าน ทำพิธีเคารพเอกราชกันและกัน

กลุ่มคนไทยบางส่วนโดยเฉพาะในต่างประเทศไทยได้จัดตั้งขบวนการเสรีไทย (Free Thai Movement) ดำเนินช่วยเหลือฝ่ายสัมพันธมิตร จึงช่วยให้ไทยรอดพ้นจากการแพ้สงคราม ซึ่งในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942)ไทยได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและอเมริกา แต่ทูตไทยในสหรัฐอเมริกา ที่นำโดยหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ไม่ยอมรับทราบในการกระทำของรัฐบาล จึงได้ร่วมมือกันตั้งเสรีไทยขึ้นติดต่อกับ นายปรีดี พนมยงค์ ในเมืองไทย เมื่อสงครามสงบในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ไทยประกาศสงครามเป็นโมฆะ ซึ่งสหรัฐอเมริการับรอง ต่อมาไทยได้เจรจาเลิกสถานะสงครามกับอังกฤษ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2489 และกับฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489

ความมุ่งหวังที่ญี่ปุ่นจะอาศัยประเทศไทยเป็นทางผ่านไปยังพม่าเพื่อยึดครองอินเดีย ก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่ขึ้นเหนือแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อเริ่มสร้างทางรถไฟสายมรณะในเดือนกันยายน พ.ศ. 2485 ทั้งคนงานและเชลยศึกจำนวนหมื่นถูกเกณฑ์มาสร้างทางรถไฟยาว 415 กิโลเมตร ต้องโหมทำงานตลอดวันตลอดคืน บุกเบิกเข้าไปในป่ากว้างที่เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายและโรคภัย คนงานและเชลยศึกเหล่านั้นมีทั้งพม่า ชวา มลายู อังกฤษ ออสเตรเลีย ฮอลแลนด์ ต้องประสบความทุกข์ทรมาน เจ็บปวดล้มตายเป็นจำนวนมาก ทางรถไฟพังทลายเพราะน้ำเซาะคันดินและสะพานข้ามแม่น้ำแควถูกระเบิดครั้งแล้วครั้งเล่า จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2486 กองทัพญี่ปุ่นจึงได้ทำพิธีเปิดทางรถไฟสายนี้อย่างเป็นทางการ

สาเหตุที่ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง 
เหตุเพราะเรามีกำลังน้อยเมื่อญี่ปุ่นบุกจึงไม่สามารถต่อต้านได้ และเพื่อป้องกันมิให้ตกอยู่ใต้อิทธิพลของญี่ปุ่นในด้านเศรษฐกิจและการเมือง

ผลของสงครามต่อไทย คือ 
  1. ไทยต้องส่งทหารไปช่วยญี่ปุ่นรบ
  2. ได้ดินแดนเชียงตุง และสี่จังหวัดภาคใต้ที่ต้องเสียแก่อังกฤษกลับมา แต่ต้องคืนให้เจ้าของเมื่อสงครามสงบลง
  3. เกิดขบวนการเสรีไทย ซึ่งให้พ้นจากการยึดครอง
  4. ไทยได้รับเกียรติเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ
สำหรับประเทศไทยนั้น เราได้เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นเพียงประเทศเดียวในทวีปเอเชียและแปซิฟิกไม่นับรวมญี่ปุ่น ที่เข้าร่วมกับพวกอักษะ สาเหตุการเข้าร่วมนั้น สืบเนื่องมาจากการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกในสมัย รัชกาลที่ 5 ทุกประเทศในฝั่งทะเลแปซิฟิกและทะเลอันดามัน ถูกเป็นเมืองขึ้นกันหมด เหลือแต่ไทยและญี่ปุ่นเท่านั้น และจากการที่สยามโดนยึดดินแดนรอบนอกส่วนต่างๆ (ซึ่งเดิมเป็นของไทย)เช่น เขมร ลาว บางส่วนของพม่า บางส่วนของจีน และส่วนเหนือของมาเลเซีย ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นของสยาม ทำให้เกิดความรู้สึกชาตินิยมขึ้นมา ประกอบกับเผด็จการจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ต้องการนำส่วนที่เคยเสียไปกลับคืนมา จึงทำให้เราโจมตีอินโดจีนของฝรั่งเศส เราจึงร่วมกับฝ่ายญี่ปุ่น

มุมมองของญี่ปุ่นต่อไทยสมัยนั้น ถือว่าเราเป็นเมืองที่ค่อนข้างเจริญ และไม่เคยถูกชาวต่างชาติครอบงำเหมือนประเทศหลายๆประเทศในแถบนี้ จึงต้องการให้ไทยเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ เพราะนโยบายของญี่ปุ่นคือ ต่อต้านและขับไล่ชาวตะวันตก ให้ออกไปจากแผ่นดินเอเชียให้หมด ประเทศต่างๆที่เป็นเมืองขึ้นจึงถูกโจมตี

สงครามเย็น

                   สงครามเย็น (ค.ศ. 1945- 1991) คือสงครามที่มหาอำนาจ 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายโลกเสรี นำโดย สหรัฐอเมริกา และฝ่ายโลกคอมมิวนิสต์ นำโดย สหภาพโซเวียต ต่อสู้กันด้วยจิตวิทยา เนื่องจากอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน โดยทั้ง 2 ประเทศมหาอำนาจ แข่งขันกันหาพันธมิตรร่วมอุดมการณ์ การสะสมอาวุธ การแสวงหาความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี และด้านเศรษฐกิจ แม้ทั้ง 2 ประเทศจะไม่ได้ทำสงครามที่สู้รบกันโดยใช้อาวุธขึ้น แต่ก็เกิดสงครามตัวแทนขึ้น อย่างเช่น สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม ภายหลังสงครามเย็นจบลง พร้อมกับการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ในปี ค.ศ. 1991

ชนวนของสงคราม

                     หลังจากที่โลกกำลังฉลองจากสันติภาพที่มาถึง หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 จบไปในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 กลิ่นอายของดินปืนยังไม่ทันจางหาย กลิ่นอายของสงครามครั้งใหม่ก็เริ่มก่อตัวขึ้น

โจเซฟ สตาลิน ผู้นำสหภาพโซเวียต (ค.ศ.1922 – 1953) 

                        โจเซฟ สตาลิน ผู้นำของสหภาพโซเวียต มีความเห็นว่า ลัทธิทุนนิยมของโลกตะวันตกเป็นระบบที่ไม่มีประสิทธิภาพ และมักแก้ไขปัญหาด้วยการทำสงคราม สตาลิน จึงให้โซเวียตมีกองทัพที่ใหญ่โตต่อไป แม้ว่าสงครามโลกครั้งที่ 2 จะจบลงไปแล้วก็ตาม และยังสนับสนุนให้นักวิทยาศาสตร์วิจัยและพัฒนาระเบิดนิวเคลียร์และขีปนาวุธ อย่างเร่งด่วนเพื่อหวังให้โซเวียตมีกำลังทางการทหารแข็งแกร่งที่สุดในโลก
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียต ได้ขยายอิทธิพลเข้าไปในยุโรป จนกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกกลายเป็นกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์
 สหรัฐฯ เริ่มรับรู้ถึงทรรศนะของโซเวียต      ค.ศ. 1946 เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในกรีก ระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ และฝ่ายที่สนับสนุนสถาบันกษัตริย์      แฮร์รี เอส. ทรูแมน ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ในขณะนั้น ตัดสินใจให้การช่วยเหลือรัฐบาลกรีก ทั้งการทหาร และเศรษฐกิจ ทำให้คอมมิวนิสต์ไม่สามารถยึดครองประเทศกรีกได้ และในตุรกีเองก็เช่นกัน ภายหลังสหรัฐฯ จึงใช้ “แผนการมาร์แชล” เพื่อช่วยเหลือประเทศในแถบยุโรป ในรูปของเงินดอลลาร์ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ
 
                    โซเวียต และกลุ่มประเทศบริวาร ไม่ยอมรับการช่วยเหลือ ของสหรัฐฯ ตามแผนการมาร์แชล และยังตอบโต้ด้วย “แผนการโมโลตอฟ” หรือ “แผนการโคมีคอน” ซึ่งจะให้การช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจต่อประเทศบริวาร และประเทศที่ไม่มีข้อผูกมัดกับประเทศใด หรืออีกนัยนึงคือประเทศที่ไม่ยอมรับการช่วยเหลือของสหรัฐฯ ทำให้การฟื้นฟูเศรษฐกิจของยุโรปแบ่งแยกเป็น 2 แนวทาง และทำให้ “สงครามเย็น” ที่มี สหภาพโซเวียต เป็นผู้นำฝ่ายโลกคอมมิวนิสต์ และสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำฝ่ายโลกเสรี เริ่มปรากฏให้เห็นเด่นชัดขึ้น
                    4 เมษายน ค.ศ. 1949 ได้มีการก่อตั้ง “องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ” หรือ “นาโต้” ขึ้น โดยประกอบไปด้วย สมาชิกทั้งหมด 28 ประเทศ หนึ่งในนั้นคือ สหรัฐอเมริกา

    
ธงนาโต้
                   ภายหลังโซเวียตได้ตอบโต้ด้วยการรื้อฟื้นองค์การ “โคมินเทิร์น” หรือ “คอมมิวนิสต์สากล” สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 มาเป็นองค์การ “โคมินฟอร์ม” เพื่อต่อต้าน “จักรวรรดินิยมอเมริกา”     โซเวียตได้กล่าวหาว่า “องค์การนาโต้มิได้จัดตั้งมาเพื่อป้องกัน แต่เพื่อเตรียมก่อการสงครามขึ้นใหม่” และได้จัดตั้ง “สนธิสัญญาวอร์ซอ” หรือ “กติกาวอร์ซอ” ขึ้น เพื่อตอบโต้ นาโต้
                  14 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 สหภาพโซเวียตจัดตั้ง “สนธิสัญญาวอร์ซอ” เพื่อป้องกันประเทศในกลุ่มของสหภาพโซเวียต โดยมี เยอรมนีตะวันออก โปแลนด์ เชโกสโลวะเกีย ฮังการี บัลแกเรีย โรมาเนีย และแอลเบเนีย เป็นสมาชิก
(ที่มา:http://www.war-world.com)
 
 
ความขัดแย้งสำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามเย็นนั้นจะประกอบไปด้วย
 
                ปัญหาความขัดแย้งที่เกี่ยวข้องกับเยอรมัน :
                ใน ช่วงที่เยอรมันกำลังจะพ่ายแพ้ต่อฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงท้ายสงครามโลกครั้ง ที่ 2 ฝ่ายพันธมิตรหลายประเทศพยายามที่จะกรีฑาทัพเข้าสู่เยอรมันทั้งนี้เพื่อถือ โอกาสยึดครองพื้นที่ของเยอรมันเมื่อสงครามโลกยุติลงในการตักตวงผลประโยชน์ จากค่าปฏิกรสงคราม ซึ่งเมื่อสงครามยุติลงมี 4 ประเทศเข้ายึดครองเยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐฯ และ สหภาพโซเวียต โดย อังกฤษ ฝรั่งเศส และ สหรัฐฯพยายามที่สถาปนาดินแดนเยอรมันทั้งหมดเข้าด้วยกันแต่สหภาพโซเวียตไม่ ยินยอม จึงทำให้ อังกฤษ ฝรั่งเศส และ สหรัฐฯรวมดินแดนเยอรมันที่ตนเองยึดครองไว้เข้าด้วยกันเป็น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน (เยอรมันตะวันตก) ส่วนดินแดนที่สหภาพโซเวียตยึดครองสถาปนาเป็น สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน (เยอรมันตะวันออก) เมื่อ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2492 (ค.ศ.1949) โดยทั้งสองประเทศแบ่งเมืองหลวงออกเป็นส่วนคือ เบอร์ลินตะวันออก และเบอร์ลินตะวันตก และสิ่งที่ตามมาคือการสร้างกำแพงเบอร์ลิน (Berlin Wall) (ในภาเยอรมันเรียกว่า Berliner Mauer) เป็นกำแพงที่กั้นเบอร์ลินตะวันตก ออกจากเยอรมนีตะวันออกโดยรอบ เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) เพื่อจำกัดการเข้าออกระหว่างเบอร์ลินตะวันออกและตะวันตก โดยกำแพงเบอร์ลินนี้ได้ถูกสร้างไว้เป็นระยะเวลา 28 ปี ก่อนจะทลายลงในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 (ค.ศ.1989) เยอรมันทั้งสองประเทศได้ผนวกเข้าเป็นประเทศเดียวกัน ซึ่งถือกันว่าเป็นการสิ้นสุดยุคสงครามเย็น เพราะกำแพงเบอร์ลินถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็น [6] ในระหว่างที่กำแพงยังตั้งอยู่นั้น มีความพยายามหลบหนีข้ามเขตแดนราว 5,000 ครั้ง มี 192 คนถูกฆ่าระหว่างการหลบหนี และอีกประมาณ 200 คนบาดเจ็บสาหัส ในช่วงแรกนั้น การหลบหนีเป็นไปอย่างไม่ยากนัก เนื่องจากกำแพงในช่วงแรกเป็นเพียงรั้วลวดหนามเตี้ย ๆ และบางส่วนก็กระโดดออกมาทางหน้าต่างของตึกที่อยู่ติดกับกำแพง แต่ไม่นานนักกำแพงก็เปลี่ยนเป็นคอนกรีตที่แน่นหนา ส่วนหน้าต่างตึกต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้กับกำแพงก็ถูกก่ออิฐปิดตาย [7]
* สงครามเกาหลี: เมื่อ สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง เกาหลีเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเทศโดยใช้เส้นขนานที่ 38 เป็นเส้นแบ่งเขต โดยเกาหลีเหนือเป็นประเทศที่ปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์ ส่วนเกาหลีใต้ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ต่อมาเมื่อ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2493 (ค.ศ.1950) ได้เกิดสงครามเกาหลีขึ้น เมื่อกำลังทหารเกาหลีเหนือทำการรุกข้ามเส้นขนานที่ 38 ลงมา และเมื่อ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2493 (ค.ศ.1950) สามารถยึดกรุงโซลได้ สหประชาชาติได้มีมติให้นำกำลังทหารเข้าช่วยเกาหลีใต้ ภายใต้การนำของสหรัฐฯ (มีกำลังทหารจากประเทศไทยเข้าร่วมด้วย) เมื่อกำลังสหประชาชาติเข้าไปช่วยเหลือเกาหลีใต้ ทำให้จีนเคลื่อนย้ายกำลังพลเข้สู่พื้นที่การรบตามมา ในสงครามเกาหลีตลอดห้วงเวลาร่วม 3 ปีที่แต่ละฝ่ายทำการรบกันคือตั้งแต่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) ถึง 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) นั้น หลังจาก นับตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2494 (ค.ศ. 1951) [8] เป็นต้นมา การสู้รบด้วยกำลังทหารขนาดใหญ่แทบจะไม่เกิดขึ้นอีก ทำให้มีความพยายามที่จะเจรจาสงบศึกกันของทั้งสองฝ่าย โดยการเจรจายุติสงครามครั้งแรกเกิดขึ้นที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งในเมืองเคซอง เมื่อ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2494 (ค.ศ. 1951) ต่อมาได้ย้ายไปเจรจากันที่ ตำบลปันมุมจอม (Punmumjom) ข้อตกลงสงบศึกที่ปันมุมจอมนี้เป็นผลจากการเจรจาที่ยืดเยื้อถึง 255 ครั้ง ใช้เวลา 2 ปี 17 วัน[9] ในสงครามเกาหลีนี้ มีผู้สูญเสียจากการรบกว่า 4 ล้านคน ทั้งทหารและพลเรือน [10]
* สงครามในอินโดจีน: สถานการณ์ ในอินโดจีนในห้วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 จวบจนสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงนั้นมีความร้อนแรงไม่แพ้ภูมิภาคด้านอื่น ๆ โดยความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในคาบสมุทรอินโดจีนหลัก ๆ จะเป็นประเทศเวียดนาม ลาว กัมพูชา ซึ่งเคยเป็นประเทศอาณานิคมของประเทศฝรั่งเศส นอกจากนี้ ประเทศไทยและพม่าก็ยังเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสงครามสถานการณ์ในห้วง สงครามเย็น
- เวียดนาม: สถานการณ์ เริ่มมาจากขบวนการเวียดมินห์ภายใต้การนำของ โฮจิมินห์ ได้เคลื่อนไหวต่อต้านฝรั่งเศสและญี่ปุ่นที่เข้ายึดครองเวียดนามในระหว่าง สงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม ฝรั่งเศสได้กลับเข้าไปมีอำนาจในคาบสมุทรอินโดจีน ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านฝรั่งเศสอีกครั้ง โฮจิมินห์ได้ร้องขอให้สหรัฐฯช่วยเหลือในการเจรจากับฝรั่งเศสแต่สหรัฐฯได้ นิ่งเฉยเพราะมีความเกรงใจฝรั่งเศส โฮจิมินห์จึงได้เปลี่ยนไปร้องขอความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตและจีนแทน ซึ่งก็ได้รับการตอบรับและได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่างดี และสถานการณ์ในคาบสมุทรอินโดจีนได้เปลี่ยนแปลงไปเมื่อฝรั่งเศสพ่ายแพ้ต่อขบ วนการเวียดมินห์ที่เดียนเบียนฟู [11] ส่งผลให้ เวียดนาม ลาว เขมรได้รับเอกราช และด้วยความพ่ายแพ้นี้เองทำใหฝรั่งเศสต้องถอนตัวออกจากภูมิภาคนี้ สหรัฐฯ จึงได้ถือโอกาสนี้เข้ามามีบทบาทแทนฝรั่งเศสในภูมิภาคทางเวียดนามใต้นี้
การ เข้าไปมีอิทธิพลในเวียดนามใต้ได้นำไปสู่การเกิดขึ้นของขบวนการ เวียดกง ซึ่งการต่อต้านนี้ได้สถานการณ์ได้ลุกลามไปสู่สงครามจำกัด (Limited War) ที่รู้จักกันในชื่อ “สงครามเวียดนาม” โดยการสู้รบในสงครามเวียดนามได้เปลี่ยนโฉมหน้าของการทำสงครามสมัยใหม่ด้วยบท เรียนราคาแพงของสหรัฐฯ นำมาซึ่งการถอนตัวออกจากภูมิภานี้เมื่อ สหรัฐฯ ไม่สามารถสร้างชัยชนะขึ้นได้ในดินแดนเวียดนาม สหรัฐฯได้ใช้เวลานานหลายปี ใช้กำลังพลมหาศาล กองทัพที่เกรียงไกรมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย แต่สูญเสียกำลังพลเกือบจะ 6 หมื่นคนในขณะที่เวียดนามสูญเสียคนไปหลายล้านคน (ในสงครามเวียดนามไทยสูยเสียทหารไป 351 นาย) [12] ในที่สุดสหรัฐฯได้ถอนกำลังทหารออกไปจากภูมิภาคนี้ด้วยปัจจัยทางการเมืองภาย ในประเทศของตนเอง ทำให้เวียดนามรวมประเทศเวียดนามเหนือและใต้และปกครองภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ ต่อมาในสมัยประธานาธิบดีบิล คลินตัน สหรัฐฯได้ประกาศฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐ ฯ และเวียดนามขึ้นอีกครั้ง
- ลาว: หลัง จากฝรั่งเศสได้ถอนตัวไปจากภูมิภาคนี้ไปพร้อม ๆ กับการได้รับเอกราชของลาว แต่สถานการณ์ไม่ได้สงบเรียบร้อยตามมาเมื่อ ขบวนการกู้ชาติที่มีความนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ ไม่ยอมรวมกับฝ่ายรัฐบาลที่นิยมประชาธิปไตย (เป็นรัฐบาลที่ฝรั่งเศสได้จัดตั้งก่อนจะถอนทหารออก) เลยส่งผลให้สงครามในลาวที่ต่อสู้เพื่อเอกราชเปลี่ยนสถานภาพไปสู่สงคราม ระหว่างลัทธิ โดยสหรัฐฯได้ให้การสนับสนุนฝ่ายรัฐบาล ในขณะที่ฝ่ายขบวนการกู้ชาติได้รับการสนับสนุนจากพวกเวียดมินห์ แต่ฝ่ายรัฐบาลได้พ่ายแพ้เมื่อสหรัฐฯถอนกำลังออกจากภูมิภาคนี้ ฝ่ายลาวสูญเสียไปประมาณ 5 หมื่นคน
- กัมพูชา:เมื่อ กัมพูชาได้รับเอกราชหลังจากความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสในเดียนเบียนฟู ได้ดำเนินนโยบายเป็นกลางเพื่อเอาตัวรอดจากสถานการณ์รอบ ๆ ประเทศพร้อม ๆ กับรับการช่วยเหลือจากทุกฝ่ายทั้งโลกประชาธิปไตยและโลกคอมมิวนิสต์ ต่อมาเมื่อสหรัฐฯไม่สามารถควบคุมการดำเนินการต่างของเจ้าสีหนุในขณะนั้นได้ ทำให้สหรัฐฯสนับสนุนให้มีการปฏิวัติรัฐประหารขึ้น ทำให้เจ้าสีหนุลี้ภัยไปกรุงปักกิ่งและจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นและร่วมมือ กับฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่รู้จักกันในชื่อ “เขมรแดง (Khmer Rouge) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “พรรคคอมมิวนิสต์เขมร” (Khmer Communist Party) หรือ “กองทัพแห่งชาติกัมพูชาประชาธิปไตย” (National Army of Democratic Kampuchea) คือ พรรคการเมืองกัมพูชาที่นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ ปกครองราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งในขณะนั้นถูกเปลี่ยนชื่อเป็นกัมพูชาประชาธิปไตย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 ถึง พ.ศ. 2522 [13] ในที่สุดเมื่อสหรัฐฯ ถอนตัวออกจากภูมิภาคนี้รัฐบาลกัมพูชาได้พ่ายแพ้ต่อเขมรแดงและกัมพูชาได้ เปลี่ยนแปลงการปกครองไปเป็นระบอบสังคมนิยม ในความขัดแย้งนี้มีผู้เสียชีวิตระหว่างสงครามกว่า 7 หมื่นคน และเสียชีวิตเมื่อเขมรแดงที่นำโดยนายพลพต เข้ายึดครองกัมพูชาอีกกว่า 1.5 ล้านคน
- ไทย: ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นแนวความคิดในเรื่องของการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ได้เริ่มแพร่หลายเข้ามา ยังประเทศไทย เมื่อ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2485 พรรคคอมมิวนิสต์ไทยได้ถือกำเนิดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์คือ “ต่อต้านญี่ปุ่นโดยประสานกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน” เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงการเคลื่อนไหวของพรรคมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเริ่มมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ เริ่มแรกเดิมทีได้รับการสนับสนุนจากเวียดนามต่อมาได้รับการสนับสนุนจาก ประเทศจีน การขยายตัวของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ได้ส่งผลให้การดำเนินการของรัฐบาลในสมัยนั้นทำการปราบปรามอย่างรุนแรง มีการออกกฏหมายคือ “พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์” ซึ่งมีโทษที่รุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต เมื่อ 6 กรกฎาคม 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้สั่งประหารชีวิต นายศุภชัย ศรีสติ ข้อมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ และด้วยการปราบปรามอย่างหนักนี้เองได้ส่งผลให้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ นำไปสู่ขั้นการทำสงครามปฏิวัติในที่สุด เมื่อ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2508 ได้เกิดการปะทะที่หมู่บ้านนาบัว ต.เรณู อ.ธาตุพนม จังหวัด นครพนม ระหว่างกำลังติดอาวุธของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยกับตำรวจส่งผลให้ เกิดการสูญเสียทั้ง 2 ฝ่าย การเริ่มขั้นสงครามปฏิวัติในครั้งนี้รู้จักกันในนาม “วันเสียงปืนแตก”
เมื่อ การปราบปรามคอมมิวนิสต์ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องทำให้มีผู้คนการหลบหนี เข้าป่าเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อย ทำให้การต่อสู้ขยายตัวออกเป็นวงกว้าง เมื่อสหรัฐฯถอนตัวออกจากภูมิภาคนี้ทำให้หลายฝ่ายมีความเชื่อประเทศไทยจะรอด พ้นจากการล้มล้างระบอบการปกครองไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ เพราะตั้งแต่การถอนตัวออกจากเวียดนามของประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาถอน กำลังหน่วยสุดท้ายออกจากเวียดนามใต้เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2516 ต่อมาเมื่อ 1 มกราคม 2518 กรุงพนมเปญเมืองหลวงของเขมร ตามมาด้วยกรุงไซ่ง่อน เมืองหลวงของเวียดนามใต้ แตกเมื่อ 30 เมษายน 2518 และกรุงพนมเปญได้แตกอีกครั้ง เมื่อ พล.อ.เทียนวันดุง ของเวียดนามได้นำกำลังกว่า 20 กองพล เข้ายึดเขมร เมื่อ 7 มกราคม 2522 หรือที่รู้จักกันในนาม ยุทธการบัวบาน และนักการทหารหลายคนมีความเชื่อว่า หลังจากเขมรแตกแล้วมีความเป็นไปได้ที่เวียดนามจะทำการรุกต่อมายังไทย การที่ประเทศต่าง ๆ แตกกันเป็นทอด ๆ นี้เองทำให้มีนักวิชาการไปกำหนดเป็นแนวคิดที่เรียกว่าทฤษฏีโดมิโน โดยประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในความเชื่อที่ว่าจะแตกเป็นประเทศต่อไปในแนวคิดของ ทฤษฏีโดมิโน เพราะกำลังพลมหาศาลของเวียดนามที่เคลื่อนเข้ามาประชิดชายแดนไทย ทำให้เป็นการยากที่ประเทศไทยจะต้านทาน [14]
ใน ที่สุดรัฐบาลได้อาศัยความร่วมมือกับประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์ในการปราบ คอมมิวนิสต์ในประเทศ ซึ่งประเทศนั้นคือประเทศจีน เป็นที่ทราบกันดีว่าการก่อความไม่สงบไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยใดจะสามารถดำเนิน การต่อไปได้จะต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้ให้การสนับสนุน และในยุคนั้นจีนสามารถกล่าวได้ว่าเป็นผู้ให้การสนับสนุนรายใหญ่ของพรรค คอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เมื่อประเทศไทยสามารถเจรจาขอให้จีนยุติการสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์แห่ง ประเทศไทยได้ ประเทศไทยเริ่มดำเนินการกดดันโดยใช้กำลังทหารอย่างหนัก พร้อมทั้งออกนโยบายรองรับให้ผู้หลงผิดวางอาวุธกลับมาเป็นผู้พัฒนาชาติไทย และนโยบายดังกล่าวคือ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 66/23 เรื่อง นโยบายการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ และ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 65/25 เรื่อง แผนรุกทางการเมือง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวได้นำพาประเทศไทยไปสู่บรรยากาศแห่งความปรองดองแห่ง ชาติในที่สุด