Web Blog การเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ (สาระเพิ่ม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ส 22102 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส 23102 ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา ในการฝึกทักษะเรียนรู้พื้นฐาน การจัดการความรู้ ทักษะภาษาดิจิตอล ทักษะการรู้คิดประดิษฐ์สร้าง ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารที่มีประสิทธิผล ทักษะการสืบค้น ฯลฯ เพื่อพัฒนาไปสู่ทักษะความรู้ที่มุ่งหวังของหลักสูตร โรงเรียนมาตรฐานสากล 6 ประการ ประกอบด้วย (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills (2) ทักษะการคิด Thinking Skills (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills (4) ทักษะชีวิต Life Skills (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skills ทฤษฎีระบบการเรียน KM (Knowlead Maneagement) โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ คุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา(Word Class Standard)

วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

บทบาทของอาเซียนในสังคมโลก


บทบาทของอาเซียนในสังคมโลก

          อาเซียน เป็นเวทีความร่วมมือในการสร้าสันติภาพและความมั่นคงให้เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังสงครามเย็นอาเซียนได้หันมาเน้นความร่วมมือทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งการเป็นประชาคมอาเซียนมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งความเข้มแข็งของอาเซียน ทำให้กลายเป็นองค์กรระหว่างประเทศองค์กรหนึ่งที่นับทวีบทบาทและความสำคัญต่อโลกมากยิ่งขึ้น
ความสำคัญของอาเซียนในเวทีโลก
          อาเซียนเป็นกลุ่มประเทศที่มีความสำคัญ จากการที่ประชากรรวมกันแล้วเกือบ 600 ล้านคน ซึ่งเป็นทั้งตลาดที่มีกำลังสูง มีแนวโน้มขยายตัวได้มาก และเป็นตลาดแรงงานราคาถูกซึ่งนักลงทุนต่างชาติโดยเฉพาะญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาเข้ามาลงทุนนานแล้ว ดังนั้นกล่าวโดยสรุปอาเซียนมีความสำคัญในเวทีโลก ดังนี้
          ความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ อาเซียนเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญของโลก โดยมีการผลิตอาหารและสินค้าเกษตรจำนวนมาก เช่น ข้าวหอมมะลิ น้ำมันปาล์ม มะพร้าว เป็นต้น และยังเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญ โดยเฉพาะทรัพยากรเชื้อเพลิงซึ่งมีมากในประเทศบรูไนและมาเลเซีย ส่งผลให้ประเทศมีฐานะทางเศรษฐกิจดี และไม่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นราคาน้ำมันของโลกมากนัก ในพม่ามีแหล่งน้ำมันและแก็สธรรมชาติจำนวนมาก ซึ่งหลายประเทศ เช่น จีน อังกฤษ ไทย รวมถึงสหรัฐอเมริกา ได้เข้าไปลงทุนโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกานั้นพยายามลงทุนในพม่าเพิ่มมากขึ้น แม้ในอดีตสหรัฐอเมริกาและอังกฤษได้คว่ำบาตรทหารพม่า แต่เพราะผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมหาศาล ทำให้สหรัฐอเมริกาไม่ใช้ข้ออ้างด้านการเมืองในการคว่ำบาตรพม่าอีก พม่าจึงเป็นประเทศในอาเซียนที่กำลังได้รับความสนใจจากภายนอก และเปิดรับการลงทุนจากภายนอก
          นอกจากนี้อาเซียนยังมีประเทศสิงคโปร์ที่มีเศรษฐกิจที่มั่นคง และเป็นศูนย์กลางทางการเงินการลงทุนของภูมิภาค มีประเทศที่มีแรงงานมีคุณภาพ ค่าแรงไม่สูง เช่น ไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มีประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดของโลก และมีความใกล้ชิดกับประทศมุสลิมอื่นๆ ในโลก ซึ่งเป็นผลดีต่อการขยายตลาดของอาเซียนในประเทศมุสลิมทั่วโลก
          ความสำคัญทางการเมือง อาเซียนมีบทบาทด้านการเมืองในระดับโลก ในการสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อสร้างสันติภาพของสหภาพของสหประชาชาติ เช่น การเข้าร่วมกับกองกำลังสหประชาชาติในปฏิบัติการต่างๆ การให้ความร่วมมือช่วยเหลือผู้อพยพจากการขัดแย้งทางการเมือง เช่น ในสงครามเวียดนาม ในสงครามการเมืองกัมพูชา ผู้อพยพที่เป็นชนกลุ่มน้อยในพม่า เป็นต้น
บทบาทของอาเซียนในเวทีเศรษฐกิจโลก
          ในปัจจุบันอาเซียนเป็นกลุ่มประเทศที่มีความโดดเด่นทางด้านการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งการเป็นตลาดขนานใหญ่ที่เป็นทั้งแหล่งผลิตสินค้าของนักลงทุนภายในและภายนอกภูมิภาค และเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูง
          เหตุการณ์ที่สะท้อนความสำคัญของเศรษฐกิจอาเซียนต่อเศรษฐกิจโลก คือ เหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ในปลาย พ.ศ. 2554 ในภาคกลางของประเทศไทย ทำให้น้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีโรงงานนักลงทุนต่างชาติจำนวนมาก ทำให้การผลิตสินค้าหยุดชะงัก กระทบถึงสินค้าในตลาดโลก เช่น โรงงานผลิตรถยนต์ในไทยถูกน้ำท่วมส่งผลให้ไม่มีรถยนต์เพียงพอต่อยอดสั่งจองทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา โรงงานผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าถูกน้ำท่วม ทำให้ไม่มีชิ้นส่วนส่งโรงงานในประเทศฟิลิปปินส์ จนทำให้โรงงานฟิลิปปินส์ต้องปิดชั่วคราว คนงานชาวฟิลิปปินส์ในโรงงานหลายแห่งไม่มีงานทำ และไม่มีสินค้าส่งขายไปยังประเทศอื่นๆ ส่งผลให้สินค้าขาดตลาด
          ในปัจจุบันอาเซียนมีบทบาทสำคัญในเวทีโลก โดยได้ดำเนินการเสริมสร้างความร่วมมือกับประเทศสมาชิก และกลุ่มประเทศนอกประเทศอาเซียน ดังนี้
การสร้างความร่วมมือในประเทศสมาชิกอาเซียน
          บทบาทของอาเซียนที่โดดเด่นในเวทีการค้าโลก คือ การเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจในหมู่ประเทศสมาชิกอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายหลัก คือ เพื่อให้เกิดการรวมเป็นตลาดเดียวกัน โดยการเริ่มก่อตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟตา เมื่อ พ.ศ. 2535 ซึงมีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและอำนาจต่อรองของอาเซียน แต่อาเซียนมีเป้าหมายสูงสุด คือ การเป็นประชาคมเศรษฐกิจ ทางการเงิน และการคลัง ซึ่งจะนำไปสู่การเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ เพื่อรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจภายในอาเซียน และสร้างความเข้มแข็งแก่อาเซียนในเวทีเศรษฐกิจโลก
          นอกจาการตั้งอาฟตาแล้ว อาเซียนได้ร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศกลุ่มน้ำโขง คือ จีน พม่า เวียดนาม ลาว กัมพูชา และไทย โดยรณรงค์ระหว่าง พ.ศ. 2543-2553 เป็นทศวรรษแห่งความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศลุ่มน้ำโขง เพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และเพื่อสนับสนุนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ ให้สอดคล้องกับตลาดอาเซียน
          การค้าในเส้นทางแม่น้ำโขงในปัจจุบันขยายตัวอย่างรวดเร็ว และมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง สินค้าราคาถูกจากจีนทั้งสินค้าเกษตรและสินค้าจากโรงงานอุตสาหกรรมถูกนำเข้ามาขายในอาเซียนจำนวนมหาศาล ส่วนสินค้าจากอาเซียน เช่น ข้าว ผลไม้ท้องถิ่นโดยเฉพาะทุเรียน ลำไย เงาะ และผลไม้แปรรูปทั้งแบบแห้งและกระป๋องและถูกนำส่งไปส่งจำหน่ายในจีน
          อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการขยายตัวทางการค้าในกลุ่มแม่น้ำโขง คือ ปัญหาลักลอบค้ายาเสพติด สินค้าหนีภาษี และปัญหาอาชญากรรมจากความขัดแย้งของผู้มีอิทธิพล หรือพ่อค้าสิ่งเสพติด ซึ่งในระยะแรกที่การค้าขยายตัว ทางการจีนและอาเซียนยังไม่ค่อยให้ความสำคัญต่อการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมเหล่านี้ แต่ปัจจุบันประเทศลุ่มแม่น้ำโขงได้เพิ่มมาตรการการรักษาความปลอดภัยในเส้นทางเดินเรือ การปราบปรามสิ่งเสพติดและสินค้าเถื่อนเพื่อทำให้การค้าในเส้นทางนั้นปลอดภัยและถูกกฎหมาย
          การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะเพิ่มบทบาทด้านเศรษฐกิจของอาเซียนในเวทีเศรษฐกิจโลก เพราะจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและต่อรองในเวทีการค้าโลก ขยายเศรษฐกิจของอาเซียน เพราะอาเซียนมีตลาดขนาดใหญ่ มีกำลังซื้อสูง ซึ่งทำให้เศรษฐกิจและนักลงทุนจากภายนอกภูมิภาคสนใจเข้ามาทำการค้าลงทุนกับอาเซียนมากขึ้น
การสร้างความร่วมมือกับประเทศหรือกลุ่มประเทศนอกอาเซียน
          อาเซียนมีการร่วมมือทางเศรษฐกิจกับภายนอกกลุ่มมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายการเชื่อมโยงกับประเทศหรือกลุ่มประเทศนอกอาเซียน เช่น
          ความร่วมมืออาเซียน+3 (ASEAN plus three) คือ ความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ร่วมกับ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
          ความร่วมมืออาเซียน+6 (เพิ่มอีก 3 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) ซึ่งจะส่งผลให้มีขนาดผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ใหญ่เป็น 1 ใน 4 ของโลก มีจำนวนประชากรมากเป็นครึ่งหนึ่งของโลก
          ความสัมพันธ์ในลักษณะของประเทศคู่เจรจากับอีก 9 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย อินเดีย และรัสเซีย และมีความสำคัญร่วมมือกับกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป
          การร่วมมือทางการค้ากับประเทศนอกกลุ่มอาเซียน จะทำให้เศรษฐกิจของอาเซียนมีความแข็งแกร่ง เมื่อเปรียบเทียบกับเศรษฐกิจโลก ดังนี้
          อาเซียน สมาชิก 10 ประเทศ ประชากร 583 ล้านคน ( 9 % ของประชากรโลก )
          GDP 1,275 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ( 2 % ของ GDP โลก)
          ASEAN+3 ประชากร 2,068 ล้านคน ( 31 % ของประชากรโลก )
          GDP 9,901 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ( 18 % ของ GDP โลก)
          ASEAN+6 ประชากร 3,284 ล้านคน ( 50 % ของประชากรโลก )
          GDP 12,250 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ( 22 % ของ GDP โลก )
ที่มา: กรมเจรจาระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
          ทั้งนี้อาเซียนส่งเสริมให้มีความร่วมมือทางการค้าเสรี และเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจกับประเทศคู่สำคัญ และพัฒนาร่วมมือกับเขตเศรษฐกิจอื่นๆ นอกภูมิภาคในระดับที่กว้างขวางมากขึ้น เช่น การร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก (APEF) เขตเศรษฐกิจระหว่างออสเตรเลียนิวซีแลนด์ และกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา นอกจากนี้ได้ยังมีการเจรจากับสหภาพยุโรปเรื่องการเปิดสัญญาการค้าเสรีประเทศสมาชิกอาเซียน 7 ประเทศ (ยกเว้น กัมพูชา ลาว และพม่า) เป็นต้น
          ดังนั้น หากการรวมกลุ่มภายในอาเซียนมีความเข้มแข็ง จะทำให้อาเซียนมีความพร้อมที่จะขยายการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับกว้างขวางขึ้น และเป็นศูนย์กลางของการร่วมกลุ่มในภูมิภาคนี้ได้ในที่สุด
          การรวมกลุ่มประเทศยังเป็นผลดีต่อประเทศหรือประเทศในระยะยาว เพราะจะทำให้ไม่โดดเดี่ยวในยุคการค้าเสรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น