เศรษฐกิจสมัยกรุงธนบุรี(2311-2319)
พัฒนาการด้านความสัมพันธ์กับต่างชาติ
ขณะที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นผู้นำ คนไทยร่วมแรงร่วมใจสร้างความเป็นเอกภาพให้กับบ้านเมืองอยู่นั้น คนไทยยังมีความกังวลที่จะรักษาชาติบ้านเมืองให้อยู่รอดปลอดภัย ดังนั้นความสัมพันธ์กับต่างชาติสมัยธนบุรี จึงมีลักษณะการทำสงครามตลอดสมัย ทั้งสงครามป้องกันอาณาจักรและขยายอาณาเขต ตลอดจนความสัมพันธ์ทางการค้า สังคมสมัยธนบุรีคล้ายกับสังคมอยุธยา คือ โครงสร้างทางสังคมประกอบด้วยกลุ่มคน เช่น กลุ่มชนชั้นผู้ปกครอง ได้แก่ พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ และขุนนางกลุ่มชนชั้นที่ถูกปกครอง ได้แก่ ไพร่ ทาสกลุ่มชนชั้นพิเศษ ได้แก่ นักบวช เช่น พระสงฆ์ และพราหมณ์ (เศรษฐกิจสมัยธนบุรี :ออนไลน์)
***เศรษฐกิจ ผลจากการเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าในวันที่7 เมษายน พ.ศ.2310 ปรากฏว่าบ้านเมืองมีสภาพคล้ายเมืองร้าง บ้านเรือน ไร่นาถูกทอดทิ้ง ราษฏรจำนวนน้อยที่รอดจากความตายและการกวาดต้อนของพม่า ผู้คนอยูในสภาพอดอยากทั่วไปการกินอยู่ในสภาพแร้นแค้น ขาดทั้งอาหารและเครื่องนุ่งห่มสิ่งเหล่านี้ เป็นปัญหาเร่งด่วนที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชต้องทรงแก้ไขและส่งเสริมภาวะเศรษฐกิจพร้อมกันไป
ภาวะเศรษฐกิจตอนต้นราชการ ขณะที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงขึ้นครองราชย์สมบัติ บ้านเมืองกำลังประสบความตกต่ำทางเศรษฐกิจอย่างที่สุด ขาดแคลนข้าวปลาอาหารเกิดความอดอยากยากแค้น จึงมีการปล้นสะดมแย่งชิงอาหารอยู่ทั่วไป การทำไร่ทำนาต้องหยุดชะงักโดยสิ้นเชิง ในช่วงปี พ.ศ. 2311-2319 ข้าวปลาอาหารฝืดเคืองมากและยังเกิดภัยธรรมชาติซ้ำเติมทำให้ภาวะทางเศรษฐกิจที่เลวร้ายอยู่แล้วกลับทรุดหนักลงไปอีก เพราะปี พ.ศ. 2311 ปรากฏว่าข้าวในยุ้งฉาง และทรัพย์สินต่างๆ มีหนูพากันมากัดกอน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงรับสั่งให้ข้าราชการทหารและพลเมืองทั้งหลายจับหนูมาส่งกรมพระนครบาลทุกวันปัญหาหนูจึงสงบ ความขาดแคลนในระยะนั้นได้ทวีความรุนแรงถึงกับมีผู้คนล้มตายไปเป็นจำนวนมาก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงแก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วยกุศโลบายอันหยาบคายทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว
ทางด้านการค้ากับต่างประเทศนั้นกรุงธนบุรีอยู่ในทำเลที่เหมาะสมสามารถเป็นเมืองท่าติดกับต่างประเทศได้สะดวก เพราะการเป็นเมืองท่าของกรุงธนบุรีนี้มีความสำคัญต่อการตั้งตัวใหม่มาก เพราะจำเป็นต้องพึ่งพาเสบียงอาหารจากภายนอก ซึ่งปรากฏว่าการค้าทำให้เศรษฐกิจของกรุงธนบุรีดีขึ้นมาก ช่วยแก้ไขปัญหาข้าวยากหมากแพงได้หลายครั้ง (วิมล จิโรจพันธุ์ ; ประชิด สกุณะพัฒน์ และ อุดม เชยกีวงศ์. 2548: 236 ,255)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น